สปสช. จับมือ ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เสริมศักยภาพคนทำงาน รับเรื่องร้องเรียน/คุ้มครองสิทธิบัตรทองในชุมชนและโรงพยาบาล

เข้าชม 61 ครั้ง - เมื่อ 31 มกราคม 2024

สปสช. จับมือ ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เสริมศักยภาพคนทำงาน

รับเรื่องร้องเรียน/คุ้มครองสิทธิบัตรทองในชุมชนและโรงพยาบาล

สปสช. จับมือ ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพ คนทำงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิในระบบบัตรทอง 22 จังหวัด ช่วยคุ้มครองสิทธิผู้รับบริการเพื่อระงับความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง รวมไปถึงการมุ่งเสริมการทำงานร่วมกันของเครือข่ายประชาชน หน่วยบริการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ที่จะช่วยกันพัฒนาระบบบริการไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ

 รศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้งและความเสี่ยงในระบบสาธารณสุข” ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 29 – 31 มกราคม 2567 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) จับมือจัดอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการจัดการความขัดแย้ง โดยมีคนทำงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นภาคประชาชนและหน่วยบริการ จำนวน 114 คน จาก 22 จังหวัด เข้าร่วมรับการอบรมในครั้งนี้ ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ แจ้งวัฒนะ นนทบุรี

รศ.ภญ.ยุพดี กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งในระบบคุ้มครองสิทธิดังกล่าวประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งนี้ขยายความรุนแรงจนกระทบเป็นวงกว้าง จำเป็นต้องมีกลไกบริหารจัดการความขัดแย้งนี้ โดยผู้ที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความขัดแย้ง ในการอบรมจะเน้นเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง เพิ่มทักษะการจัดการความขัดแย้งทางการแพทย์ให้แก่ผู้รับผิดชอบงานรับเรื่องร้องเรียน ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองที่เป็นคนทำงานในชุมชนและผู้แทนจากาหน่วยบริการ รวมทั้งสร้างความร่วมมือพร้อมเชื่อมโยงกลไกรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิในจังหวัดและพื้นที่ ในการบริหารจัดการปัญหาร้องเรียนในพื้นที่แบบเครือข่ายหรือคณะทำงานจังหวัดสู่การพัฒนาคุณภาพบริการในพื้นที่ร่วมกัน

“ครั้งนี้เป็นการอบรมฯ รุ่นที่ 1 ในปีนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นคนทำงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจากพื้นที่ สปสช. เขต 3 นครสวรรค์, เขต 4 สระบุรี, เขต 5 ราชบุรี, เขต 6 ระยอง, เขต 13 กรุงเทพมหานคร รวม 22 จังหวัด รูปแบบการอบรมแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การอบรมออนไซต์จัดขึ้น 3 วันนี้ มีกิจกรรม Work shop ที่เข้มข้นและนำไปใช้ได้จริง และระยะที่ 2 การอบรมออนไลน์ ที่เป็นการติดตามผลการทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายในแต่ละจังหวัดภายหลังการอบรมแล้ว” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว  

นพ.สุริยะ คูหะรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์เฝ้าระวังความขัดแย้งทางการแพทย์ในประเทศไทย ปี 2566 โดยศูนย์สันติวิธีสาธารณสุขได้เฝ้าระวังความขัดแย้งทางการแพทย์ 42 เหตุการณ์ ในจำนวนนี้ 33 เหตุการณ์ หรือร้อยละ 79 จบลงได้โดยไม่มีการฟ้องร้องต่อ และอีก 9 เหตุการณ์หรือร้อยละ 21 อยู่ระหว่างติดตาม ซึ่งสาเหตุของความขัดแย้งมากที่สุด คือการติดใจขั้นตอนการรักษาและการให้บริการร้อยละ 28.2 รองลงมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 15.4 สำหรับวิธีในการยุติความขัดแย้งฯ นั้น เป็นการเจรจาไกล่เกลี่ยและชดเชย มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มากที่สุด ร้อยละ 57.6 และรองลงมาเป็นวิธีเจรจาไกล่เกลี่ยโดยไม่ได้ชดเชย ร้อยละ 30.3

       

“การติดใจในขั้นตอนของการรักษาและการให้บริการเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากที่สุด เช่น พูดจาไม่ดี ไม่ได้รับข้อมูลการรักษา เป็นต้น ดังนั้นการพูดจาที่เป็นมิตร การรีบให้การดูแลผู้ป่วย การรักษาตามขั้นตอนจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ลดความขัดแย้งได้”

       

นพ.สุริยะ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ต้องเข้าใจธรรมชาติความขัดแย้ง ความขัดแย้งไม่ใช่ความรุนแรง แต่เปลี่ยนเป็นความรุนแรงได้หากไม่เข้าใจ ความขัดแย้งไม่มีฝ่ายถูกหรือผิด ทั้งยังขับเคลื่อนไปสู่สิ่งที่ดีได้แต่ต้องมีวิธีบริหารจัดการ มีการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลางที่เป็นที่ยอมรับและไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมมีกลไกเยียวยารองรับทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ เน้นการช่วยเหลือที่รวดเร็ว บรรเทาความเดือนร้อน ลดความขัดแเย้ง ความสมานฉันท์ และไม่พิสูจน์ถูกผิด โดยในส่วนกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยในสถานบริการสาธารณสุข ทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งเพื่อทำหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ย โดยผู้มีทักษะประสบการณ์และผ่านการอบรมของศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พร้อมมีการจัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว RRT (Rapid Response Team) ซึ่งการอบรมครั้งนี้จะเป็นการสร้างองค์ความรู้และเชื่อมต่อเครือข่ายในการบริหารจัดการความขัดแย้งในระบบสาธารณสุข

นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขเอง มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ และไม่มีที่ไหนที่ไม่มีความขัดแย้ง แต่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะจัดการอย่างไร ซึ่งหลักสูตรการอบรมฯ นี้ นอกจากการรับรู้ถึงมุมมองในเรื่องความขัดแย้งที่มองเป็นเรื่องปกติ เกิดความรู้และความเข้าใจในความขัดแย้งแล้ว ผู้รับการอบรมยังสามารถนำเครื่องมือและวิธีการที่ได้จากการอบรม ไปใช้ในการจัดการความขัดแย้งได้ ซึ่งวันนี้มีผู้เข้าอบรมที่มาจากจังหวัดต่างๆ ก็จะที่ได้เรียนรู้และนำไปขยายต่อในพื้นที่ต่อไป

“สิ่งแรกคือถ้าเรามีความรู้เรื่องความขัดแย้ง บวกกับทักษะและความสามารถจะเกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เจตคติภายในตัวเราที่มองความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติและใช้สันติวิธี ไม่ใช่อารมณ์เหนือเหตุผล ซึ่งการเปลี่ยนเจตคติเป็นเรื่องสำคัญมาก หากเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราก็จะจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีแบบเดิมๆ แต่หากเรามีความรู้ บวกทักษะ เจตคติและความมุ่งมั่นแล้ว ก็จะนำวิธีการบริหารจัดการความขัดแย้งที่ถูกต้องที่เป็นสันติวิธีไปแก้ปัญหาได้”

นายศุภณัฐ กล่าวต่อว่า หลังผ่านการอบรมแล้ว ผู้รับการอบรมจะต้องนำวิธีบริหารจัดการที่ได้เรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้และทำซ้ำ เพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์ และกลับมาทบทวนใหม่ และคาดหวัดให้นำทักษะนี้ไปวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำต่อไป

//////

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

1.สายด่วน สปสช. 1330

2.ช่องทางออนไลน์

• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

รายการแนะนำ
รายการ โฮม

รายการ Home : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพในครอบครัวจากหลากหลาย แง่มุมทั้ง จิตวิทยา ธรรมะ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน 40 ตอน วันที่เหมาะสม จันทร์ - ศุกร์ หรือ เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 20.00 – 24.00 น.

รายการ วิตามินใจ

วิตามินใจ : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ นำเสนอความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ เรื่องเล่าดี ๆ รวมทั้งเพลงที่จะช่วยบำรุงจิตใจ ความยาว 28 - 29 นาที จำนวน 40 ตอน วันที่เหมาะสม เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 20.00 24.00 น.

รายการ เฮลตี้โฮม

รายการเฮลตี้โฮม : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ เน้นความรู้ในเชิงการป้องกัน นำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองและแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน 80 ตอน วันที่เหมาะสม จันทร์ - ศุกร์ หรือ เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 05.00 – 06.00 / 09.00 – 15.00 หรือ 20.00 – 24.00 น.

รายการ เดอะแฟมิลี่คิดส์เกม

ชื่อรายการ เดอะแฟมิลี่ คิด เกมส์ กลุ่มเป้าหมาย เด็ก 3 – 5 ปีและครอบครัว ผู้ดำเนินรายการ พี่วาฬ และพี่เหลือม (ปราณี มีทรัพย์ และ วรวิทย์ ศรีเนตร) แนวคิดรายการ ส่งเสริมการเรียนรู้กระตุ้นให้เด็กคิดและวิเคราะห์แบบง่าย ๆ ผ่านการเล่น เกมส์สร้างเสริมการเรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าคิดกล้าคุยและการ แสดงออกที่ เหมาะสม การมีวินัย การแบ่งปัน การมีจิตอาสาและการมี ส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว

รายการออนเดอะเวย์โฮม

รายการ On the way home กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และคนรักสุขภาพ ผู้ดำเนินรายการ คุณ ธีรยุทธ เพชรกุล และ คุณศศิธร สินภักดี คุณรัศมี มณีนิล และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รูปแบบรายการ เป็นรายการที่เน้นความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันก่อนเกิดโรค และนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอผ่านรายการวิทยุ การนำเสนอข้อมูลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 6 ปัจจัยเสี่ยง NCDs ดังนี้ 1. การบริโภคยาสูบ 2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะตามหลักโภชนาการ 4. การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ 5. การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 6. การจัดการอารมณ์ รวมทั้งข่าวและกิจกรรมของ สสส. และภาคีเครือข่าย ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

รายการนับเราด้วยคน

นับเราด้วยคน : กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และผู้ฟังทั่วไป เนื้อหารายการ นำเสนอเรื่องสิทธิ ความรู้ การช่วยเหลือกันในสังคม และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เน้นกลุ่มประชากรเฉพาะ 9 กลุ่ม คือ 1. คนพิการ 2. ผู้ต้องขังหญิง 3. มุสลิม 4. ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ประชากรข้ามชาติ 5. แรงงานนอกระบบ 6. คนไร้บ้าน 7. ผู้หญิง 8. LGBTIQ+ 9. ผู้สูงอายุ ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน ผลิตต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 เทป วันที่เหมาะสม จันทร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 13.00 - 15.00 น.

ละครวิทยุชุด เพื่อนรักเพื่อนเลิฟ

ละครวิทยุชุดเพื่อนรักเพื่อนเลิฟ การกินผักในแต่ละวันของเราอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ มักไม่ชอบกินผัก ในขณะที่ผักทุกชนิดมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก โครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านกินผักมากขึ้น ซึ่งการผลิตสื่อเป็นละครวิทยุจะช่วยทำให้ผู้เข้าเข้าใจได้ง่ายผ่านเรื่องราวของเพื่อนรักเพื่อนเลิฟ 3 คน คือ ผักปุ้ง เชอรี่ และ หม่อน

ละครวิทยุสูงวัยรู้เท่าทันสื่อ

กลุ่มคนตัวดี ร่วมกับ โครงการพัฒนากลไกสูงวัยรู้ทันและเฝ้าระวังสื่อระดับจังหวัด ขอเสนอเรื่องราวของคนสูงวัยที่ใช้ชีวิตในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากไม่เรียนรู้เพื่อเท่าทันแล้วก็อาจกลายเป็นเหยื่อจากภัยสังคมและเทคโนโลยีการสื่อสารได้ ขอเชิญทุกท่านติดตามได้ในละครวิทยุชุด สูงวัย เท่าทันภัย เท่าทันสื่อ นอกจากจะได้รับความบันเทิงหวังเป็นเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะได้แง่คิดในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ อย่าเพียงเพราะเชื่อคนที่มีชื่อเสียงว่าเขาจะนำเสนอสินค้าดีมีคุณภาพ ท่านอาจได้สินค้าไม่มีคุณภาพเหมือนยายติ๋มก็เป็นไป สนับสนุนโดยโครงการพัฒนากลไกสูงวัยรู้ทันและเฝ้าระวังสื่อระดับจังหวัด และ สสส. ผลิตโดยกลุ่มคนตัวดี หมายเหตุ ละครวิทยุผลิตใหม่ทั้งหมดจำนวน 40 ตอน

365 วันแห่งรัก

นิยาย 365 วันแห่งรัก บทประพันธ์โดย ร่มแก้ว ความยาว ประมาณ 15-18 นาที จำนวน 16 ตอน วันที่เหมาะสม ทุกวัน เวลาที่เหมาะสม 10.00 - 15.00 น. และ 21.00 - 24.00 น. จากนวนิยายที่คุณประทับใจสู่ละครวิทยุให้คุณได้ติดตามเรื่องราวความรักอลหม่านเมื่อฝ่ายหญิงมีโอกาสได้เห็นความรักของตนในอีก 365 วันข้างหน้า จากคำทำนายที่ฟังแล้วน่าใจหายกับสมุดบันทึกเล่มเก่าๆ เหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กลับมาเปลี่ยนชีวิตรักในปัจจุบัน ทว่า...ยิ่งพยายามเปลี่ยน...ความจริงในคำทำนายนั้นยิ่งเด่นชัดขึ้น ในชีวิตคู่มีเพียงคนสองคนเท่านั้นที่ช่วยกันกำหนดว่า พรุ่งนี้ หรือ อีก 365 วันของพวกเขาจะเป็นอย่างไร... "หย่าขาดจากกันตลอดกาล" หรือ "ใช้เวลาร่วมกันตลอดไป"

นิทานหรรษา

นิทานหรรษา กลุ่มเป้าหมายสำหรับเด็ก ความยาว 3 - 5 นาที เนื้อหา มุ่งเน้นกระตุ้นจิตนาการ และทักษะการจัดการตัวเองของเด็ก รวมถึงการสร้างคุณธรรมของเด็ก ๆ ผ่านเรื่องเล่านิทาน ขอขอบคุณ สำนักพิมพ์คิดบวก สำนักพิมพ์ซีเอ็ดคิดส์ สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส

รอบรู้สู้ NCDs

ชื่อ รอบรู้สู้ NCDs ความยาว 7- 15 นาที กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และ คนรักสุขภาพ รูปแบบรายการ เป็นรายการที่เน้นความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันก่อนเกิดโรค และนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอข้อมูลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 6 ปัจจัยเสี่ยง NCDs ดังนี้ 1. การบริโภคยาสูบ 2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะตามหลักโภชนาการ 4. การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ 5. การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 6. การจัดการอารมณ์

สารคดี Up Lavel

สารคดีความรู้ Up Lavel นำเสนอความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ เรื่องสุขภาพ และความหมายของคำบางคำที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา จำนวน 40 ตอน ความยาว 3-5 นาที โดย รัศมี มณีนิล

ปลดล็อคกับหมอเวช

รายการ ปลดล็อกกับหมอเวช ผู้ดำเนินรายการ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล (จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอดีตผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมสุขภาพจิต) ความยาว ประมาณ 20 - 25 นาที เนื้อหา เมื่อชีวิตติดล็อก จะเดินหน้าหรือถอยหลังก็ไม่ได้สักทาง แล้วจะทำอย่างไรเมื่อต้องเจอสถานการณ์แบบนี้ มาร่วมปลดล็อกไปด้วยกันกับหมอเวช จิตแพทย์ผู้มากประสบการณ์ ที่จะมาตอบโจทย์ทุกปัญหาชีวิตของสมาชิกต่างวัย ต่างสถานภาพ ไม่ว่าจะรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ คนโสด คนมีคู่ รวมไปถึงคนมีลูก ให้กลับมาแฮปปี้มีความสุขในชีวิตได้อีกครั้ง

Money and the Family

รายหาร Money and the Family ผู้ดำเนินรายการ จักรพงษ์ เมษพันธุ์ (โค้ชหนุ่ม) โค้ชการเงินระดับประเทศ ประสบการณ์มากกว่า 16 ปี ความยาว 10 - 15 นาที เนื้อหา ความรู้และเคล็ดลับการจัดการการเงิน

นิทานปันสุข

นิทาน ปันสุข ผู้เล่า พี่แฟร์เคชิ ความยาว 7 - 10 นาที

family we care

สารคดี แฟมมิลี่วีแคร์ เวลา 3-5 นาที กลุ่มเป้าหมาย พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น เนื้อหา สร้างความเข้าใจครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่น จากวัฏจักรครอบครัว

เรื่องน่ารู้จากวาฬ

สารคดี เรื่องน่ารู้จากวาฬ ความยาว 3- 5 นาที กลุ่มเป้าหมาย เด็ก เนื้อหา ความรู้รอบตัว

สารคดีเสียง 9 การเปลี่ยนแปลง

สารคดีเสียง 9 การปเลี่ยนแปลงของกลุ่มประชากรเฉพาะ

รายการสด FM 105
เวลา 16.00-18.00น.