สสส.-มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด สานพลังพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด

เข้าชม 52 ครั้ง - เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2024

สสส.-มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด สานพลังพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน หวังเชื่อมโยงภาคประชาสังคม วิชาการ  สร้างต้นแบบพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดในชุมชน 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด มีแกนนำจัดการปัญหายาเสพติด 2,683 คน

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมสัมมนาแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ว่า สสส. สนับสนุนโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ร่วมขับเคลื่อนงานป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 ทำให้เกิดพื้นที่ต้นแบบที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด สามารถปกป้องลูกหลานไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติดได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญทำให้เกิดแกนนำ ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งระดับชุมชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ภูมิภาค และแกนนำเครือข่าย 5 ภูมิภาค  2,683 คน จากประสบการณ์และบทเรียนการทำงานในพื้นที่ของแกนนำต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้การจัดการปัญหายาเสพติดไปขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ได้

“หลักการสำคัญของการขับเคลื่อนงานป้องกันยาเสพติดในชุมชน ต้องมีฐานมาจาก 1. พลังสังคม คือ กลไกภาคประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนงาน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้มีศักยภาพ และเท่าทันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 2. พลังวิชาการ คือ เครือข่ายวิชาการ เช่น ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ต้องพัฒนาข้อมูลเชิงวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ขยายผลการทำงาน 3.พลังนโยบาย คือ การนำบทเรียนจากการทำงานของกลไกภาคประชาชน และข้อมูลวิชาการ มาพัฒนาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ” นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า

ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ประธานมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด และผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาสิ่งเสพติดต้องใช้กลไกและอำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาที่มีความต่อเนื่อง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนกรอบความคิดของชุมชนที่มีต่อสิ่งเสพติด ซึ่งโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สสส. มีเป้าหมายการทำงานคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีกลไกการทำงานคือ 1. ระบบความสัมพันธ์ที่ดี 2. ใช้ความเข้าใจ เปิดใจการการพูดคุย 3. เป็นการจัดการเชิงบวก4.พื้นที่การเรียนรู้ที่พัฒนาคนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์ การออกแบบเพื่อยกระดับการเรียนรู้ร่วม ทั้งนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาชุดความรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานกับชุมชน เพื่อนำไปใช้ขยายพื้นที่ทำงานทั่วประเทศ ตลอดจนการขยายเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์

ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ในอดีตแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะเป็นลักษณะ “การใช้อำนาจบังคับ” กล่าวคือ ผู้มีอำนาจทางกฎหมายในการสั่งการ ตรวจเจอแล้วจับ ขณะที่ชุมชนมองว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องปัจเจก ที่หากจะแก้ไขต้องแก้ที่บุคคล หรือเรียกว่า “ตัวใครตัวมัน” ขณะที่แนวทางการทำงานของ สสส. ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการปัญหายาเสพติดที่รุนแรงขึ้น โดยให้ความสำคัญการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มีต้นแบบพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดที่เห็นภาพชัดเจนคือ ที่สะเมิง จ.เชียงใหม่ ที่ใช้ศิลปะในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย หรือเรียกว่า “ศิลปะสื่อสุข” สามารถป้องกันเด็กได้ 40 คน ป้องกันกลุ่มเสี่ยงได้ 30 คน และเปลี่ยนจากผู้เสพให้เลิกได้ 6 คน

“การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างหลายหลาย แต่มีหลักการสำคัญคือ มีพื้นที่ตรงกลาง เน้นรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา มอบโอกาส และสร้างความเข้าใจ มีกลไกที่ช่วยประสาน เชื่อมโยงภายในและภายนอกที่เหมาะสม สิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการฯ สำเร็จคือ การเปิดโอกาสให้ชุมชนดำเนินการตามศักยภาพของตัวเอง ทำให้ชุมชนมีอิสระในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.สมคิด กล่าว

...

รายการแนะนำ
รายการ โฮม

รายการ Home : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพในครอบครัวจากหลากหลาย แง่มุมทั้ง จิตวิทยา ธรรมะ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน 40 ตอน วันที่เหมาะสม จันทร์ - ศุกร์ หรือ เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 20.00 – 24.00 น.

รายการ วิตามินใจ

วิตามินใจ : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ นำเสนอความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ เรื่องเล่าดี ๆ รวมทั้งเพลงที่จะช่วยบำรุงจิตใจ ความยาว 28 - 29 นาที จำนวน 40 ตอน วันที่เหมาะสม เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 20.00 24.00 น.

รายการ เฮลตี้โฮม

รายการเฮลตี้โฮม : กลุ่มเป้าหมายครอบครัว เนื้อหารายการ เน้นความรู้ในเชิงการป้องกัน นำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองและแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน 80 ตอน วันที่เหมาะสม จันทร์ - ศุกร์ หรือ เสาร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 05.00 – 06.00 / 09.00 – 15.00 หรือ 20.00 – 24.00 น.

รายการ เดอะแฟมิลี่คิดส์เกม

ชื่อรายการ เดอะแฟมิลี่ คิด เกมส์ กลุ่มเป้าหมาย เด็ก 3 – 5 ปีและครอบครัว ผู้ดำเนินรายการ พี่วาฬ และพี่เหลือม (ปราณี มีทรัพย์ และ วรวิทย์ ศรีเนตร) แนวคิดรายการ ส่งเสริมการเรียนรู้กระตุ้นให้เด็กคิดและวิเคราะห์แบบง่าย ๆ ผ่านการเล่น เกมส์สร้างเสริมการเรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าคิดกล้าคุยและการ แสดงออกที่ เหมาะสม การมีวินัย การแบ่งปัน การมีจิตอาสาและการมี ส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว

รายการออนเดอะเวย์โฮม

รายการ On the way home กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และคนรักสุขภาพ ผู้ดำเนินรายการ คุณ ธีรยุทธ เพชรกุล และ คุณศศิธร สินภักดี คุณรัศมี มณีนิล และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รูปแบบรายการ เป็นรายการที่เน้นความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันก่อนเกิดโรค และนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอผ่านรายการวิทยุ การนำเสนอข้อมูลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 6 ปัจจัยเสี่ยง NCDs ดังนี้ 1. การบริโภคยาสูบ 2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะตามหลักโภชนาการ 4. การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ 5. การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 6. การจัดการอารมณ์ รวมทั้งข่าวและกิจกรรมของ สสส. และภาคีเครือข่าย ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

รายการนับเราด้วยคน

นับเราด้วยคน : กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และผู้ฟังทั่วไป เนื้อหารายการ นำเสนอเรื่องสิทธิ ความรู้ การช่วยเหลือกันในสังคม และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เน้นกลุ่มประชากรเฉพาะ 9 กลุ่ม คือ 1. คนพิการ 2. ผู้ต้องขังหญิง 3. มุสลิม 4. ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ประชากรข้ามชาติ 5. แรงงานนอกระบบ 6. คนไร้บ้าน 7. ผู้หญิง 8. LGBTIQ+ 9. ผู้สูงอายุ ความยาว 50 – 53 นาที จำนวน ผลิตต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 เทป วันที่เหมาะสม จันทร์ - อาทิตย์ เวลาที่เหมาะสม ช่วง 13.00 - 15.00 น.

ละครวิทยุชุด เพื่อนรักเพื่อนเลิฟ

ละครวิทยุชุดเพื่อนรักเพื่อนเลิฟ การกินผักในแต่ละวันของเราอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ มักไม่ชอบกินผัก ในขณะที่ผักทุกชนิดมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก โครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านกินผักมากขึ้น ซึ่งการผลิตสื่อเป็นละครวิทยุจะช่วยทำให้ผู้เข้าเข้าใจได้ง่ายผ่านเรื่องราวของเพื่อนรักเพื่อนเลิฟ 3 คน คือ ผักปุ้ง เชอรี่ และ หม่อน

ละครวิทยุสูงวัยรู้เท่าทันสื่อ

กลุ่มคนตัวดี ร่วมกับ โครงการพัฒนากลไกสูงวัยรู้ทันและเฝ้าระวังสื่อระดับจังหวัด ขอเสนอเรื่องราวของคนสูงวัยที่ใช้ชีวิตในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากไม่เรียนรู้เพื่อเท่าทันแล้วก็อาจกลายเป็นเหยื่อจากภัยสังคมและเทคโนโลยีการสื่อสารได้ ขอเชิญทุกท่านติดตามได้ในละครวิทยุชุด สูงวัย เท่าทันภัย เท่าทันสื่อ นอกจากจะได้รับความบันเทิงหวังเป็นเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะได้แง่คิดในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ อย่าเพียงเพราะเชื่อคนที่มีชื่อเสียงว่าเขาจะนำเสนอสินค้าดีมีคุณภาพ ท่านอาจได้สินค้าไม่มีคุณภาพเหมือนยายติ๋มก็เป็นไป สนับสนุนโดยโครงการพัฒนากลไกสูงวัยรู้ทันและเฝ้าระวังสื่อระดับจังหวัด และ สสส. ผลิตโดยกลุ่มคนตัวดี หมายเหตุ ละครวิทยุผลิตใหม่ทั้งหมดจำนวน 40 ตอน

365 วันแห่งรัก

นิยาย 365 วันแห่งรัก บทประพันธ์โดย ร่มแก้ว ความยาว ประมาณ 15-18 นาที จำนวน 16 ตอน วันที่เหมาะสม ทุกวัน เวลาที่เหมาะสม 10.00 - 15.00 น. และ 21.00 - 24.00 น. จากนวนิยายที่คุณประทับใจสู่ละครวิทยุให้คุณได้ติดตามเรื่องราวความรักอลหม่านเมื่อฝ่ายหญิงมีโอกาสได้เห็นความรักของตนในอีก 365 วันข้างหน้า จากคำทำนายที่ฟังแล้วน่าใจหายกับสมุดบันทึกเล่มเก่าๆ เหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กลับมาเปลี่ยนชีวิตรักในปัจจุบัน ทว่า...ยิ่งพยายามเปลี่ยน...ความจริงในคำทำนายนั้นยิ่งเด่นชัดขึ้น ในชีวิตคู่มีเพียงคนสองคนเท่านั้นที่ช่วยกันกำหนดว่า พรุ่งนี้ หรือ อีก 365 วันของพวกเขาจะเป็นอย่างไร... "หย่าขาดจากกันตลอดกาล" หรือ "ใช้เวลาร่วมกันตลอดไป"

นิทานหรรษา

นิทานหรรษา กลุ่มเป้าหมายสำหรับเด็ก ความยาว 3 - 5 นาที เนื้อหา มุ่งเน้นกระตุ้นจิตนาการ และทักษะการจัดการตัวเองของเด็ก รวมถึงการสร้างคุณธรรมของเด็ก ๆ ผ่านเรื่องเล่านิทาน ขอขอบคุณ สำนักพิมพ์คิดบวก สำนักพิมพ์ซีเอ็ดคิดส์ สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส

รอบรู้สู้ NCDs

ชื่อ รอบรู้สู้ NCDs ความยาว 7- 15 นาที กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และ คนรักสุขภาพ รูปแบบรายการ เป็นรายการที่เน้นความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันก่อนเกิดโรค และนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอข้อมูลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 6 ปัจจัยเสี่ยง NCDs ดังนี้ 1. การบริโภคยาสูบ 2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะตามหลักโภชนาการ 4. การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ 5. การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 6. การจัดการอารมณ์

สารคดี Up Lavel

สารคดีความรู้ Up Lavel นำเสนอความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ เรื่องสุขภาพ และความหมายของคำบางคำที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา จำนวน 40 ตอน ความยาว 3-5 นาที โดย รัศมี มณีนิล

ปลดล็อคกับหมอเวช

รายการ ปลดล็อกกับหมอเวช ผู้ดำเนินรายการ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล (จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอดีตผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมสุขภาพจิต) ความยาว ประมาณ 20 - 25 นาที เนื้อหา เมื่อชีวิตติดล็อก จะเดินหน้าหรือถอยหลังก็ไม่ได้สักทาง แล้วจะทำอย่างไรเมื่อต้องเจอสถานการณ์แบบนี้ มาร่วมปลดล็อกไปด้วยกันกับหมอเวช จิตแพทย์ผู้มากประสบการณ์ ที่จะมาตอบโจทย์ทุกปัญหาชีวิตของสมาชิกต่างวัย ต่างสถานภาพ ไม่ว่าจะรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ คนโสด คนมีคู่ รวมไปถึงคนมีลูก ให้กลับมาแฮปปี้มีความสุขในชีวิตได้อีกครั้ง

Money and the Family

รายหาร Money and the Family ผู้ดำเนินรายการ จักรพงษ์ เมษพันธุ์ (โค้ชหนุ่ม) โค้ชการเงินระดับประเทศ ประสบการณ์มากกว่า 16 ปี ความยาว 10 - 15 นาที เนื้อหา ความรู้และเคล็ดลับการจัดการการเงิน

นิทานปันสุข

นิทาน ปันสุข ผู้เล่า พี่แฟร์เคชิ ความยาว 7 - 10 นาที

family we care

สารคดี แฟมมิลี่วีแคร์ เวลา 3-5 นาที กลุ่มเป้าหมาย พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น เนื้อหา สร้างความเข้าใจครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่น จากวัฏจักรครอบครัว

เรื่องน่ารู้จากวาฬ

สารคดี เรื่องน่ารู้จากวาฬ ความยาว 3- 5 นาที กลุ่มเป้าหมาย เด็ก เนื้อหา ความรู้รอบตัว

สารคดีเสียง 9 การเปลี่ยนแปลง

สารคดีเสียง 9 การปเลี่ยนแปลงของกลุ่มประชากรเฉพาะ

รายการสด FM 105
เวลา 16.00-18.00น.