Mom Gen 2 EP.03 พ่อแม่ติดมือถือ ตัวการทำร้ายลูก

08 มีนาคม 2020 269 ครั้ง

Mom Gen 2 EP.03 พ่อแม่ติดมือถือ ตัวการทำร้ายลูก

“ถ้าเราคิดว่าเด็กยุคนี้เป็นยุคสังคมก้มหน้า ผู้ใหญ่อย่างเราก็ต้องเงยหน้าขึ้นมาก่อน จึงจะแก้ปัญหาเด็กได้”

เคยได้ยินข่าวหนูน้อยเยอรมันรวมตัวกันประท้วงพ่อแม่ไหมคะ ซึ่งมีหนูน้อยวัย 7 ขวบ เป็นแกนนำในการปรท้วง เรื่องที่ทำการประท้วงคือ พ่อแม่ที่ในแต่ละวันเอาแต่หมกมุ่นกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งข้อเรียกร้องของเด็กๆ ก็คือ ให้พ่อแม่หันมาใส่ใจพวกเขามากขึ้น 

 

อ่านข่าวนี้แล้วคุณคิดอย่างไรคะ?

 

ทุกวันนี้เรามักจะบ่นว่าเรื่อง “ลูกติดมือถือ” ไม่รู้จะแก้อย่างไร แต่ก่อนที่จะบ่น เราเคยสำรวจตัวเราเองก่อนหรือไม่ ว่าเรามีพฤติกรรมอย่างไรเวลาอยู่กับลูก แน่นอนหลายครอบครัวบอกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำงาน ซึ่งเรื่องนี้เราไม่ว่ากันค่ะ ฉะนั้นเราต้องดูต่ออีกนิดว่า เราจัดสรรเวลาอย่างลงตัวหรือไม่ โดยเฉพาะเวลาของ “ครอบครัว” 

 

ขอยกตัวอย่าง กฎการเลี้ยงลูกที่น่าสนใจมาก ของ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง บริษัทไมโครซอฟ ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์เรื่องการเลี้ยงลูกของเขาว่า ถึงแม้เขาจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี แต่เขาก็มีกฎในครอบครัว 4 ข้อ คือ 

 

  1. ไม่อนุญาตให้ลูกๆ เล่นโทรศัพท์ จนกว่าอายุ 14 ปี
  2. กำหนดเวลาใช้โทรศัพท์ ทุกคนต้องมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน
  3. ไม่ให้เล่นขณะกินข้าว
  4. ต้องเลิกใช้โทรศัพท์ทันทีเมื่อถึงเวลาเข้านอน

 

รู้จักกฎเหล็กของครอบครัวบิล เกตส์ไปแล้ว คราวนี้เราลองมาดูวิธีปรับพฤติกรรมของพ่อแม่ ก่อนส่งต่อไปถึงลูกกันนะคะ

 

  1. ตระหนักไว้เสมอว่า พฤติกรรมของเราในวันนี้ ส่งผลต่อลูกในวันหน้า
  2. การส่งเสริมและฝึกทักษะที่จำเป็นให้ลูก ต้องทำร่วมกับพ่อแม่ เช่น กิจกรรมที่เคลื่อนไหว การมีงานอดิเรก และต้องทำอย่างสม่ำเสอ  พ่อแม่ต้องเล่นกับลูก ไม่ใช่ซื้อให้แล้วปล่อยให้ลูกเล่นเอง
  3. ห้ามใช้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูก แม้ว่าเราจะเหนื่อยจากการทำงาน แต่ถ้าเราผลักหน้าที่ให้การดูแลลูกไปให้หน้าจอชนิดต่างๆ ผลเสียตามมาระยะยาวแน่นอน ถ้าลูกได้สัมผัสเทคโนโลยีแล้ว โอกาสที่จะเรียกร้องให้เขากลับมายากมาก
  4. ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะก้าวไม่ทันเทคโนโลยี ถ้าเข้าไม่ได้เรียนรู้ตั้งแต่เล็ก เพราะลูกๆ เกิดในยุคนี้ เมื่อถึงเวลา เด็กจะใช้เวลาเพียงแป๊บเดียวในการทำความเข้าใจ
  5. สร้างกฎกติการครอบครัว ไม่ใช่ให้ลูกปฎิบัติ แต่ทุกคนในบ้านต้องใช้ร่วมกัน เช่น มื้ออาหารห้ามใช้มือถือเพื่อที่ทุกคนจะได้คุยกัน เป็นต้น

 

 

พ่อแม่อาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือท้อแท้จากการทำงานมา แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเป็นตัวการทำร้ายลูก อย่าลืมว่าลูกมีเวลาเป็นเด็กเล็กไม่กี่ปีเท่านั้น เมื่อเขาโตขึ้น โอกาสแบบนี้ จะหาไม่ได้อีกเลย

 

 

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER