เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.15 เคล็ดลับการสร้างสุขจากการเลี้ยงลูก

04 มิถุนายน 2020 129 ครั้ง

เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.15 เคล็ดลับการสร้างสุขจากการเลี้ยงลูก

ทุกข์ในใจแม่ ส่งผลต่อลูกมากแค่ไหน ? อยากให้ลูกมีความสุข เราต้องสุขเพื่อลูก ไม่ใช่ทนเพื่อลูก มาปลดทุกข์แล้วสร้างสุขในการเลี้ยงลูกด้วยเคล็ดลับดี ๆ จาก เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก อีพีนี้กันค่ะ

เคล็ดลับสำคัญในการเลี้ยงลูกให้ได้ดี อยู่ตรงไหน ? การสร้างวินัย การดูแลความปลอดภัย การทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจาก... ผู้เลี้ยงดูหลักของลูก ต้องมีความสุขและมีความมั่นคง

 

พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์ จะมาบอกว่า ทำไมผู้เลี้ยงดูต้องมีความสุข แล้วจึงเลี้ยงลูกได้ดี กันค่ะ

 

 

ถ้าคนเลี้ยงไม่มีความสุขส่งผลอย่างไรต่อเด็ก

 

ในกรณีที่เด็กมีปัญหาพฤติกรรมบางอย่างอยู่แล้ว เช่น สมาธิสั้น LD ก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับครอบครัว และแม่ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงดูหลัก) มักจะมีความสะเทือนใจ ทุกข์ใจอยู่แล้ว พอลูกป่วย ก็จะมองว่า “ลูกป่วย ลูกไม่โอเค มองอนาคตลูกไปอีกแบบ” เมื่อแม่มีแนวคิดแบบนี้ก็เกิดความทุกข์ บางคนมีความเกรี้ยวกราดผสมได้ด้วย ซึ่งแน่นอนส่งผลกระทบต่อลูกโดยตรง 

 

แต่รู้ไหมว่า แม้แม่จะไม่เกรี้ยวกราดใส่ลูก แต่แม่มีทุกข์อยู่ในใจ ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกลูก เพราะเด็กจับความรู้สึกเก่งมาก

 

ลูกจับอารมณ์ถูก เพราะลูกรู้ว่า แม่รู้สึกว่า “หนูไม่โอเค” เขาไม่โอเคจากนอกบ้านอยู่แล้ว (โรงเรียน/คนรอบข้าง) และยังมาเจอกับคนที่สำคัญที่สุดของลูก ก็ส่งผลโดยตรงต่อลูกมากที่สุด เพราะสัมผัสกับความเครียดของแม่

 

ในกรณีที่เด็กปกติก็เช่นกัน ถ้าแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีความทุกข์ บรรยากาศรอบตัวไม่ดี แน่นอนจะส่งผลต่อเด็กมาก ถ้าเราจะดูแลเด็กให้ดี ต้องกลับไปดูคนที่ดูแลเด็กให้ดีที่สุด แล้วเด็กจะซึมซับความรู้สึกเรื่องนี้ได้ดีมาก

 

สมองในส่วนรับความรู้สึกถูกรบกวนโดยความทุกข์ของแม่ เด็กก็ถูกรบกวนไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตรงความรู้สึกจะรบกวนส่วนเหตุผล การประเมินผล การคิดวิเคราะห์ ของสมองส่วนหน้า ฉะนั้นก็เลยไปด้วยกัน

 

 

เทคนิคการคลายความทุกข์

 

ความรู้สึกทุกข์ คือ สมองส่วนกลางถูกเร้าเยอะ สมองส่วนไหนที่ถูกเร้าเยอะ จะกดสมองส่วนอื่น ๆ ฉะนั้น ส่วนอื่น ๆ ก็จะถูกกดไปหมด ดังนั้นให้เรากลับไปดูแลสมองส่วนกลางให้นิ่ง วิธีการไม่ยาก แต่อาจจะใช้เวลา

 

ความทุกข์ เปรียบเหมือน ”น้ำ” ที่รอการระบาย ซึ่งอาจจะไหลออกช้า แต่ยังไงก็แห้งได้ ฉะนั้นอย่าไปปิดการระบาย ต้องให้ได้ระบายออก วิธีการคือ (ถ้าเราเป็นผู้รับฟังจากคนที่ทุกข์) ฟังโดยไม่ตัดสิน ฟังโดยอยู่กับเขา ฟังโดยไม่ตอบสนองวิพากษ์วิจารณ์ ยอมรับกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นตรงนั้น

 

รู้หรือไม่ว่า ความทุกข์ขี้อาย พอเห็นว่าเรามองอยู่ก็จะหาย หรือไม่ก็ลดลง ให้บอกตัวเอง ไม่ต้องปฎิเสธ อยากทุกข์ก็ทุกข์ รู้ และยอมรับให้อยู่กับตรงนั้น พอรู้สึกลดลง จะทำให้เรารู้สึกสงบขึ้น

 

ความรู้สึกแบบนี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ถ้าคนที่ฟังอยู่ด้วยเห็นว่าคนที่กำลังทุกข์ หรือกำลังระบาย มีความรู้สึกเครียดลดลงแล้ว เขาสามารถ M power คือ ชื่นชมเขา อะไรก็ได้ ชื่นชมสิ่งดี ๆ ของเขาให้เขามองเห็น เพราะคนที่กำลังทุกข์อยู่ จะมองไม่เห็น ซึ่งนี่คือส่วนสำคัญของคนรอบขัางที่จะทำได้

 

แต่ถ้าเราหาคนรอบข้างไม่ได้ เพราะมีแต่การพูดซ้ำเติม หรือห้าม ให้ไปหานักวิชาชีพได้เลย นั่นคือ นักจิตวิทยา หรือผู้ให้คำปรึกษาในแขนงต่าง ๆ เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการยา ก็ไม่จำเป็นต้องพบจิตแพทย์ คนที่ทุกข์ก็ต้องฟื้นขึ้นมาจากความทุกข์ด้วยตัวเอง ดังนั้นอยากจะฝากคนเป็นแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดว่า แม่ต้องสุขเพื่อลูก ไม่ใช่อดทนเพื่อลูก นะคะ

 

 

 

 


ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ และ นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

 

 

OTHER