เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.23 เป็นพี่ต้องเสียสละทุกเรื่องเลยหรือ

30 กรกฎาคม 2020 80 ครั้ง

เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.23 เป็นพี่ต้องเสียสละทุกเรื่องเลยหรือ

บ้านไหนมีลูกมากกว่าหนึ่ง ก็ต้องมีบ้างที่เจอกับปัญหา “พี่น้องทะเลาะกัน” ยิ่งถ้าพี่น้องอายุไล่ ๆ กัน สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกวันก็คือ “แย่งของเล่น” วันนี้ พ.ญ. วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์ จะมาคลี่คลายปัญหาสุดคลาสสิกนี้กันค่ะ

เมื่อพี่น้องแย่งของเล่น พ่อแม่ส่วนใหญ่ จะมีวิธีแก้ไขอยู่ 2 แนวทางคือ 

 

1. ของเล่นเป็นของใคร สิทธิเป็นของคนนั้น การใช้วิธีการนี้ น้องคนเล็กก็จะได้เรียนรู้ว่า เราไม่สามารถได้ทุกสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ในขณะเดียวกันคนพี่ก็อาจจะเสียโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการเสียสละไป การยืนยันสิทธิของตัวเอง รู้จักขอบเขต ถ้าพ่อแม่เลือกวิธีการนี้ เราสอนลูกต่อได้ว่า ถ้าลูกยังอยากเล่นด้วยกันอยู่ ลูกต้องหาวิธีให้น้องเล่นด้วยกันได้ ซึ่งสนุกกว่าการเล่นคนเดียวแน่นอน 

 

2. พี่เสียสละให้น้อง (คนไทยส่วนใหญ่ใช้ข้อนี้ในการสอนลูก) แบบนี้มีข้อดีคือ คนพี่ได้เรียนรู้เรื่องความเสียสละ ตัวน้องเองก็รับรู้ถึงความเสียสละของพี่ แต่ก็มีข้อเสีย 
ตรงที่ตัวพี่อาจจะแปลความหมายผิดว่า พ่อแม่รักน้องมากกว่าได้

พ่อแม่สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาพี่น้องทะเลาะกันได้ทั้ง 2 แบบ เพราะแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะเลือกวิธีการไหน สิ่งสำคัญคือ ต้องดูแลจิตใจกันด้วย เช่น ถ้าพ่อแม่ตั้งมายด์เซ็ตไว้ว่า คนโตต้องเสียสละ ถ้าไม่เสียสละ คือ ผิด แบบนี้ไม่ดี แต่ถ้าคิดว่า คนโตควรจะละได้มากกว่าน้องเพราะรู้เรื่องมากกว่า แบบนี้ก็ต้องชมลูกด้วย คือ แทนที่จะบอกว่า ถ้าไม่ให้คือผิด ต้องเปลี่ยนเป็นถ้าไม่ให้ คือ เสมอตัว (ไม่ใช่ความผิด) แต่ถ้าให้ได้ก็มีคำชื่นชม 


ไม่ว่าจะเลือกอะไร ต้องดูด้วยว่าลูกมีพัฒนาการถึงวัยไหน ถ้าเขาไม่ได้อยู่ในวัยที่จะเสียสละ เราก็อาจจะสอนได้ว่า ถ้าหนูเลือกที่จะให้น้องเล่นด้วย การเล่นก็อาจจะสนุกมากขึ้น ต้องทำให้เห็นว่าทุกอย่างเสมอตัวกับชื่นชม ไม่ว่าต้องการแบบไหน แบบนั้นก็จะทำได้อย่างราบรื่น 

ส่วนแก้ปัญหาโดยการซื้อ 2 ชิ้น อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะเด็กเล็ก ๆ ประมาณ 2 ขวบ เขากำลังพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาลอยู่ แม้ของจะมีเหมือนกันก็อยากเล่นของในมือพี่ แบบนี้ไม่ใช่ความผิดเด็ก เป็นส่วนที่กำลังพัฒนาของเด็กเอง ซึ่งเราก็จะสอนเขาตรงนั้น หรือ อยากร้องก็ร้องไป แบบนี้ก็ได้ แต่ก็ต้องมีการปลอบใจแต่ไม่ตามใจ แต่ถ้าพี่คนโตเสียสละ เราก็ต้องชมเชยเขา และบอกให้ลูกรับรู้ว่าเรารู้และเข้าใจอารมณ์ของพี่คนโต 


ส่วนพฤติกรรมพี่ชอบรังแกน้อย พ่อแม่ต้องย้อนกลับมาดูว่า พฤติกรรมที่ลูกคนโตแสดงออกเป็นการเรียกร้องขอความรักหรือไม่ พ่อแม่มีเวลาให้คนโตพอไหม

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ และ นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

OTHER