เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.26 ลูกถูกรังแก ลูกรังแกคนอื่น

20 สิงหาคม 2020 222 ครั้ง

เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.26 ลูกถูกรังแก ลูกรังแกคนอื่น

ถ้าลูกถูกรังแกมา ก่อนที่พ่อแม่จะบอกว่า “ไม่มีอะไรหรอก เรื่องเล็ก ๆ เอง” แบบนี้เป็นการปัดออกไป ไม่เป็นผลดีกับลูก เราต้องดูแลความรู้สึก ต้องยอมรับความรู้สึกก่อน ต้องรู้ก่อนว่าลูกรู้สึกอย่างไร แล้วค่อยช่วยกันแก้ปัญหาหรือหาทางออก


รู้ได้อย่างไรเด็กกำลังถูกรังแก  


ดูที่พฤติกรรมการไปโรงเรียน การแสดงออกที่ต่างออกไป การเรียนแย่ลง การเหม่อลอย การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในทางลบ ซึ่งเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กแล้ว บางทีอาจจะไม่ใช่การถูกรังแก แต่เด็กต้องมีปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน

 


เด็กที่ถูกรังแกแต่ก็ผ่านไปได้ กับเด็กที่ถูกรังแกผ่านไปไม่ได้ 2 ลักษณะนี้แตกต่างกันอย่างไร 


เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการที่คนอื่นมารังแกหรือล้อไม่เหมือนกัน เช่น บางคนโดนเพื่อนล้ออาจจะไม่สนใจเลย บางคนโดนล้อแล้วน้อยใจบ้างแต่ก็ผ่านไปได้ แต่บางคนผ่านไปไม่ได้ติดอยู่ตรงนั้น แบบนี้เรียกว่า ภายในตัวเด็กเป็นคนแปลว่าจะเป็นทางลบหรือบวก ซึ่งเรื่องนี้่ิสิ่งสำคัญคือ สร้างให้เด็กมีความมั่นคงภายใน ภูมิใจในตัวเอง เรื่องนี้สร้างได้จากที่บ้าน 
 

ครอบครัวยอมรับลูกอย่างที่ลูกเป็น โดยที่ไม่มีเงื่อนไข โดยที่ไม่มีความคาดหวังที่นอกเหนือจากตัวเขา และเรื่องนี้หวังพึ่งจากโรงเรียนไม่ได้ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนมีความอ่อนไหวง่าย ถ้าเขาเจอสถานการณ์บางอย่าง เขาจะรับเข้ามาสู่ตัวเอง แล้วถ้าธรรมชาติของเด็กเป็นแบบนี้ และพ่อแม่เข้าใจคอยบอกลูกว่า 
 

“ลูกสามารถร้องไห้ได้ ลูกเป็นตัวเองแบบนี้ ทำให้ลูกเห็นใจคนอื่นได้ดีหรือเปล่า” คือ ถ้าลูกรู้สึกว่าตัวเองโอเค แล้วไปเจอผลกระทบข้างนอก เขาก็จะไม่ค่อยสั่นไหว เพราะเขาเข้าใจตัวเอง 
 

ถ้าลูกกลับมาบอกว่า เจอเพื่อนล้อ เสียใจกลับมา สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ กอดลูก แสดงให้ลูกเห็นว่า พ่อแม่เข้าใจความรู้สึกเขา อย่าเพิ่งปัดไปก่อนว่ามันไม่ใช่ปัญหา แล้วค่อยคุยกับลูกว่าลูกรู้สึกอย่างไรที่โดนว่าหรือโดนแกล้ง จากนั้นลองสมมติว่าคนที่โดนว่าคือคนอื่น (ไม่ใช่ลูกเรา) แล้วลูกคิดว่าคน ๆ นั้นรู้สึกหรือต้องทำอย่างไร แล้วค่อยย้อนกลับมาที่ตัวเอง 
 

แต่อย่างไรก็ตามเด็กก็ยังอาจจะไม่มั่นใจหรือเสียใจอยู่ เราก็แสดงความเข้าใจ แล้วลองหาวิธีร่วมกันว่า ทำอย่างไรที่เราจะเลี่ยงการถูกรังแก 
 

เทคนิคที่สำคัญคือ ให้เราไม่สั่นไหวไปกับสิ่งนั้น ให้ลูกแสดงอารมณ์และความรู้สึกลูกออกมาก่อน แล้วจึงบอกเทคนิคอื่น ๆ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าจะมีผลกระทบกับลูกมากน้อยแค่ไหน 

 


เด็กที่รังแกคนอื่น


แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ถ้ารังแกคนอื่นโดยที่แค่รู้สึกสนุก อยากแหย่ เล่นแล้วก็จบกันไป แบบนี้ไม่เป็นไร แต่คนที่แกล้งคนอื่นโดยที่อยากเห็นคนอื่นเจ็บปวด แล้วก็คอยหาคนอื่นแกล้งไปเรื่อย ๆ แบบนี้คือ คนที่ไม่ปกติ เป็นคนที่ไม่มั่นคง เป็นการแสดงออกที่ต้องการลดความรู้สึกเจ็บปวดของตัวเอง คนแบบนี้ต้องการการช่วยเหลือ 


ซึ่งวิธีการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ก็ต้องทำกระบวนการที่สำคัญก่อนการลงโทษ คือ ทำความเข้าใจความรู้สึกของเด็กที่ไปรังแกคนอื่นว่าทำไปแล้วเขารู้สึกอะไร (ไม่ใช่การต่อว่า) และเมื่อเด็กทำผิดต้องมีกระบวนการทำโทษตามความเหมาะสม 
 

เด็กที่ไปรังแกคนอื่นบ่อย ๆ นั้น โดยปกติแล้วมักมีปัญหาพื้นฐานมาจากครอบครัว ถ้าโตมาแบบไม่มั่นคงจะทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น เช่น เด็กถูกละเลย ดังนั้น บางทีต้องกลับมาดูที่พ่อแม่ว่ามีปัญหาอย่างไร พ่อแม่อาจจะต้องแก้ปัญหาตัวเองก่อน ดูแลจิตใจตัวเองให้ดีก่อน ทำให้มั่นคงพอแล้วกลับมาดูแลลูก

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ และ นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

OTHER