ส่งต่อรักแบบแม่ EP.01 คุณแม่ตู่ (นันทิดา แก้วบัวสาย)

21 กันยายน 2020 222 ครั้ง

ส่งต่อรักแบบแม่ EP.01 คุณแม่ตู่ (นันทิดา แก้วบัวสาย)

ติดตามมุมมองความเป็นแม่ของ "แม่ตู่ นันทิดา แก้วบัวสาย" ที่ถ่ายทอดความรักอันไพเราะผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ใน ส่งต่อรักแบบแม่ EP.01 คุณแม่ตู่ (นันทิดา แก้วบัวสาย)

 

คุณแม่ตู่: พี่รู้สึกว่าทำไมบ้านหลังเดียวกัน ท้องฟ้าก็เป็นภาพที่เราเห็นอยู่ทุกวัน แต่ทำไมวันนี้มันรู้สึกไม่อยากหลับไม่อยากนอน ลืมอาการเจ็บปวดทั้งหมด คิดแต่ว่าเมื่อไหร่เขาจะพาฉันไปดูลูกสักที นับวินาทีรอ เพราะตั้งแต่ที่รู้ว่าน้องเพลงจะมา เราคุยกับเขาในท้องทุกวันอยู่แล้ว แต่วันที่น้องเพลงลืมตาดูโลกเป็นวันที่พี่รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ 

 

บ้านหลังเดียวกันทำไมฉันมีความสุขแบบนี้ ที่ที่เดียวกันแต่ความรู้สึกไม่เหมือนเดิม มันคือความรู้สึกใหม่ เขาคือของขวัญของแก้วบัวสาย จนทุกวันนี้พี่ก็ยังคงใช้คำพูดนี้ว่า “น้องเพลงคือของขวัญล้ำค่าของครอบครัวแก้วบัวสาย” 

 

ตอนนั้นพี่ไม่รู้ว่าลูกเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ก็ไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะเป็นอะไร ก็ตั้งชื่อว่าน้องซอง (song) ถ้าเป็นผู้ชายจะชื่อเทป เทปคาสเซ็ท ก็ว่าไปเรื่อย ถ้าผู้หญิงชื่อซอง ก็ฟังดูแปลก ในยุคนั้นนะก็ต้องเทปคาสเซ็ทแหละ รุ่นพี่อะเนอะก็ยังเป็นแบบนั้นอยู่ไงคะ (หัวเราะ) 

 

ถ้าผู้หญิงก็ชื่อเพลง แล้วกัน ไม่ได้ตั้งชื่อไว้ก่อนว่าชื่อจริงจะชื่ออะไร พอลูกอุแว๊ออกมาก็คิดลูกชื่ออะไรดีพ่อ ลูกเขากับเรา ชนม์สวัสดิ์กับนันทิดา ก็เป็น “ชนม์ทิดา” ไม่มีคำแปลนะคะ ก็เป็นลูกที่เกิดจากพ่อกับแม่ เอาแบบนั้นเลยแล้วกัน

 

ตากับยายนี่นะคะ จำได้เลยว่าตาเอารูปภาพติดฝาผนังให้หลาน ปีนขึ้นไปทำให้หลานทุกอย่าง แต่พี่ไม่มีโอกาสได้อุ้มลูกนะคะ เพราะว่าคุณพ่อเขาคือบิ๊กแด๊ด ทำหน้าที่ดูแลตั้งแต่อาบน้ำ อุ้มลูกทำทุกอย่าง พี่ไม่ได้อุ้มลูกเกือบเดือนนะ จริง ๆ ค่ะ แต่คุณตาคุณยายได้อุ้มนะ แต่พี่นี่อาจเป็นเรื่องสนุก ๆ ในครอบครัว เรามองว่าเป็นคนชอบทำอะไรร่วงหล่น ซุ่มซ่าม เขากลัวเราทำหลานหล่น นี่เป็นเรื่องจริงนะ 

 

พอพี่จะอุ้มอาบน้ำ คุณตาบอกไม่ต้อง ๆ ให้พ่อโน่น พอพยาบาลเรียกไปฝึกอาบน้ำ พ่อบอกไม่ได้แน่นอนลูก ให้คุณเอ๋เขาไปทำหมดเลย เราก็ได้แต่ดู ถึงเวลาเขาก็เอาลูกมานอนข้าง ๆ เรา เราก็ได้แต่นอนดู นอนข้าง ๆ

 

 

Host: การเติบโตที่อยู่ในบ้านเดียวกันบ้านหลังใหญ่เป็นครอบครัวใหญ่แบบคนไทย พี่ตู่รู้สึกอย่างไรบ้าง

 

คุณแม่ตู่: อบอุ่นมาก ดีจะตาย จำได้เลยตอนที่ลูกร้อง เรียกโคลิก (Colic) ร้องนาน ๆ คุณยายเป็นคนอุ้มเพราะอยากให้พี่นอนหลับเพราะต้องไปทำงาน อุ้มตั้งแต่ 4 ทุ่มจนถึงตี 4 ตี 5 เขาร้องนานมาก บ้านพี่เป็นบ้านชั้นเดียว คุณแม่ก็จะพาไปที่ห้องรับแขกใหญ่ให้ห่างจากห้องนอนเรา

 

 

Host: น้องเพลงเขาก็เหมือนมีพ่อแม่หลายคน

 

คุณแม่ตู่: น้องเพลงเขาใกล้ชิดกับคุณยายมาก คุณยายจะขับรถไปส่งที่โรงเรียนเพราะพี่ขับรถไม่เป็น คุณยายก็ไม่ให้คนขับรถไปส่ง โดยปกติคุณแม่พี่เป็นคนแข็งแรงดูแลตัวเองดี ซึ่งอันนี้เขาก็เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเราอยู่แล้ว ตอนที่เรามีชื่อเสียงใหม่ ๆ คุณแม่ก็เป็นคนขับรถไปกับพี่ คอยดูแลวางคิวทุกอย่าง สมัยเข้ามาวงการใหม่ ๆ คุณแม่ก็ทำผม แต่งหน้าให้พี่ ที่เห็นนันทิดาเล่นหนังนั่น แม่ทำผมให้นะ สมัยนั้นเราไม่มีช่างหน้าช่างผมนะ ก็ถึงสวยได้ขนาดนั้น แม่ทำทุกอย่างค่ะ

 

 

Host: การที่แม่เป็นแบบนี้ส่งผ่านมาถึงพี่ตู่อย่างไรบ้างที่มีต่อน้องเพลง

 

คุณแม่ตู่: แน่นอนค่ะ ทุกอย่าง รอที่ไหนก็รอได้ ดึกแค่ไหนก็รอ คือจริง ๆ ตอนสมัยที่เราตั้งแต่เด็ก ๆ มาจนถึงวัยรุ่นนะคะ เราจะมีกิจกรรมเยอะมาก คุณพ่อคุณแม่ก็จะไปส่งเรา ให้เราเรียนบัลเล่ เรียนเต้นรำ เรียนดนตรี อะไรเหล่านี้มันเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลานาน และรับส่งอยู่แบบนั้นเป็นเวลาหลายปีค่ะ 

 

พี่ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งคุณยายก็ไปนั่งรอหลานด้วย พี่ก็ไปนั่งรอลูกด้วย รอไป รอไป 2-3 ชั่วโมง มีขี่ม้าด้วย อาทิตย์นึงเยอะมากค่ะ แล้วก็สามารถอยู่กับการทำงานของเราด้วย

 

 

Host: ที่พี่พูด หนูย้อนกลับไปนึกถึงตอนต้นที่เราคุยกัน พี่บอกว่าเห็นคุณค่าของการรอ

 

คุณแม่ตู่: เมื่อมีคำว่า “รัก” คำเดียว พี่เชื่อในคำว่ารักมาก คำนี้นะคะ เป็นคำที่เราได้ยินอยู่บ่อย ๆ แต่คำ ๆ นี้ “I start everything with รัก” ตื่นเช้าขึ้นมาพี่บอกรักตัวเอง ออกไปทำงานทำด้วยความรัก รักให้เกียรติคนทำงานทุกคน ทุกอย่างมันเริ่มจากความรักหมดเลย

 

 

Host: แม้กระทั่งบ้านพี่ยังรักเลย

 

คุณแม่ตู่: ถูกค่ะ รักหมดทุกอย่าง ของของพี่ พี่ถนอมหมด ทุกวันนี้ที่บ้านมีเปียโนเป็นตัวแรกที่คุณพ่อซื้อให้ตอนอายุ 11 ปี เปียโนตัวนั้นน้องเพลงก็ยังใช้ ตอนเขาไปเรียนเปียโน ฝึกเล่นต่อไป

 

 

Host: ตอนที่เขาเด็ก ๆ พี่ตู่มีความทรงจำอะไรที่เกี่ยวกับลูก แล้วเก็บเป็นความจำที่ประทับใจ

 

คุณแม่ตู่: พี่เก็บทุกอย่างที่เกี่ยวกับลูกหมดเลยนะคะ ฟันซี่แรกของลูกที่หล่น แล้วก็จดไว้หมดนะคะ ฟันซี่แรก ซี่สอง ซี่สามหล่นที่ไหน เมื่อไร แม่เอามาทำเป็นพวงกุญแจรถให้คุณพ่อ แล้วก็เขาก็บอกว่า มัม...ฟันซี่นี้หล่นที่สนามเด็กเล่น ตอนเวลาบ่ายโมง อะไรอย่างนี้ค่ะ น้องเพลงก็เลยกลายเป็นคนที่เวลาไปไหน เขาซื้อของครั้งแรก เขาก็จะเก็บไว บิลเขาก็จะเก็บไว้ เพราะเขาเห็นที่เราทำ นี่คือความประทับใจที่เราเห็นเขามาตั้งแต่เด็ก ๆ จนกระทั่งถึงโต 

 

ตอนเด็กเราบอกว่า อย่าลืมนะลูก ล้มตอนไหนก็อย่าลืมบอกแม่นะ เขียนมานะ แล้วเราก็มาจดในบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ๆ หลาย ๆ อย่าง คือประทับใจว่า ไม่ใช่ว่าเขาเป็นเด็กแล้วจะไม่รู้เรื่องนะ ทุกวันนี้แม่ก็เลยยังต้องมีอะไรหลาย ๆ อย่างเขียนอยู่ใน journal มีความสุขค่ะ 

 

ทำ scrapbook ทำ journal มีหลายเล่มค่ะที่ซื้อไว้ก่อน หมายถึงสมุดเล่มขาว ๆ ธรรมดา ไปที่ไหนก็จะชอบซื้อไว้ แล้วก็เล่มนี้จะทำให้คุณพ่อ เล่มนี้จะทำให้คุณแม่ เราจัดไว้หมดแล้ว ตอนนี้มีอยู่ 7 เล่มนะ เลข 7 เป็นเลขพลังของพี่ (หัวเราะ) 

 

ของน้องเพลงนี่ก็มีหลายเล่มแล้วค่ะ มีตั้งแต่ to be my child จนตอนนี้ก็เป็น daddy’s girl เวลาที่เขาอยู่กับพ่อเขา นี่DNAเป็นคุณพ่อเลย เพราะทางฝั่งพี่จะค่อนข้างกลัวแม้กระทั่งกีฬาความเร็ว แอดเวนเจอร์ทุกอย่างคือไม่เลย แต่เขานี่ไม่งอแงเลยที่จะต้องไปโน่นทำนี่ เขาเป็นเด็กที่ชอบทำกิจกรรมตั้งแต่เด็ก ๆ เลยค่ะ เป็นเด็กที่ทานข้าวในรถ ทำการบ้านในรถ เป็นคนมีระเบียบวินัยมาก ๆ ตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วเขาทำการบ้านในรถ  

 

แล้วทำไม I เข้าห้อง You ไม่ได้ล่ะ คือห้องทำการบ้านของลูกจะอยู่ในห้องนอนของพี่ ซึ่งเมื่อก่อนมันเป็นห้องทำงานของพี่ เขาต้องทำการบ้าน เราจะเข้าไปไม่ได้ ต้องเดินย่อง ๆ เข้าไปค่ะ เขาเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ 2 ขวบเลยแล้วมี discipline ในตัวเองมาก

 

ใช้เวลานานในการเรียนของเขา เราเพิ่งมารู้ว่าทำไม เขาบอกว่าเขาไม่ใช่คนเรียนเก่ง แต่เขาใช้เวลาและพยายาม เขาเป็นคนที่รักดี เป็นคนที่อะไรถ้าไม่เข้าใจเขาจะพยายามมาก hard harder จนถึง hardest เขาเรียนโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี (RIS) อันนี้คุณแม่ภูมิใจ เป็นความดีของลูกเอง เรียนตั้งแต่ Kindergarten จนถึง High school มี 20 คนเท่านั้นที่ได้ Honor roll ที่เรียนได้คะแนนดีมาตั้งแต่ต้นจนถึง High school ต้องบอกเลยว่า ลูกจ๋าทำได้ยังไง 

 

สิ่งที่อยู่ในห้อง กุ๊ก ๆ แก๊ก ๆ ของเธออยู่คนเดียว ฉันยุ่งกับเธอไม่ได้เลย ขนาดพี่ต้องเอามือค่อย ๆ ยื่นไป ลูกขา..ผลไม้เนี่ย ตัวเข้าไม่ได้ หน้ายังเห็นไม่ได้ เข้าไปได้แค่มือ แล้วเขาเดินเข้ามา Mum, quite! she ก็สั่งฉันได้นะ แล้วฉันก็ยอม she นะ 

 

ยายก็เหมือนกันนะ ถ้าหากเวลาขับรถแล้วเขานั่งเคร่งเครียดในรถเนี่ย เราก็ท่องเพลงของเราไป เขาจะหันมา Mum Shhh! ทุกวันนี้ยังเป็นแบบนี้นะ เป็นคนจริงจังมาก ตรง ๆ มุ่งมั่น เป็นคนที่น่ารักมาก เราถึงเคารพการตัดสินใจของลูกค่ะ ตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เขาเรียน พี่ไม่เคยบอกว่าลูกต้องทำการบ้านนะ ไม่เคย มีแต่ถามว่าเสร็จหรือยัง ออกมาจากห้องได้แล้ว

 

 

Host: น้องเพลงเขาทำได้ยังไง แล้วปกติแม่จะต้องมีความคาดหวังว่าฉันเป็นแม่นะ

 

คุณแม่ตู่: ไม่ พี่ไม่ได้ทำอะไรเลย เขาบอกวันที่เขาจบปริญญาตรี นิเทศ เกียรตินิยม ที่จุฬา เขาบอกคุณยายว่า “This is your, Grandma” เกียรตินิยมนี้ของคุณยายนะ แต่เขาโทรไปหาแดดดี้ก่อนนะแล้วโทรหามามี๊ แล้วปริญญาบัตรนี้ให้คุณยาย ยายเคยพูดกับเขาตั้งแต่อายุ 4 ขวบบอกว่า “ยายไม่มีอะไรจะให้หลานนะ อยากให้ตั้งใจเรียน เรียนเท่าไหร่เรียนไป สูง ๆ เยอะ ๆ ยิ่งดี” 

 

พอเรียนจบปริญญาโท เราก็ถามต่อด็อกเตอร์ไหมลูก เขาบอก แม่ขอกลับไปทำงานก่อน ตอนนี้มันกำลังมีไฟอยู่ (หัวเราะ) พี่ถึงบอกว่าเขามีความมุ่งมั่น ขอบคุณลูกที่เขามีความมุ่งมั่น เราเห็นเขาตั้งแต่เด็ก นั่นคือสิ่งที่เขาได้ยินคุณยายบอกเขา 

 

อย่าคิดว่าเด็กไม่จำนะ เด็กเขาจำตั้งแต่ตอนนั้น เขาก็รักที่จะเรียน รักที่จะดี รักที่จะทำสิ่งนี้ให้เป็นของขวัญสำหรับเรา เราไม่ต้องการอะไรแล้วในชีวิตนี้ ในชีวิตนี้ของพี่นะคะ คนถามความสำเร็จในชีวิตนันทิดาคืออะไร พี่รู้ว่าพี่ตอนอายุ 16 เด็กผู้หญิงคนนี้ได้รับรางวัล อ๋อหรอ นี่ของพ่อ ไม่ใช่ของไอ ขอไปชอปปิงก่อนนะ ลองไปดูในภาพหนังสือพิมพ์ไทยรัฐสิ ฉันอุ้มตุ๊กตาตัวหนึ่งกับถ้วยรางวัล แล้วเอาถ้วยรางวัลให้พ่อเพราะนี่คือความฝันของพ่อ This is your dream, not my dream. 

 

ถึงบอกว่าในชีวิตของพี่นี่คือพ่อ He always like my God. He is god for me. He is my hero. He is my Dad. He is my everything. ฉันเชื่อ ฉันศรัทธาผู้ชายคนนี้ เลยทำให้พี่ได้ก้าวผ่านชีวิตหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่ามันจะดี ทุกข์ สุข พี่ถึงบอกว่า ความสำเร็จสูงสุดของพี่คือ ในวันนั้นพี่ได้ทำให้คุณพ่อเห็นว่า เด็กผู้หญิงคนนี้ไม่ได้มีแค่ my dream but my dad’s dream แล้วเธอทำได้ I do for he. But until he pass away. 

 

คำพูดคำหนึ่งที่พี่เชื่อตลอดเวลาเลยนะคะที่ไม่มีในคัมภีร์ไหนเลย “ลูกป๋าทำได้” พี่เป็นคนที่ป่วยเก่งที่สุดในลูกจำนวน 3 คน ป่วยตลอด ป่วยทุกวัน แต่ก็ต้องลุกออกไปทำงาน เพราะสมัยก่อนไม่มีสื่อที่ออกมาบอกได้ว่านันทิดาป่วย พอขายบัตรไปแล้ว เราก็ต้องไป คุณแม่ก็ขับรถไป ไปต่างจังหวัดซึ่งก็ไม่ได้มีเครื่องบิน ต้องขับรถไปเอง แต่ที่ทำให้พี่ผ่านมาได้ก็เพราะคำคำนั้นของพ่อ ทุกวันนี้พี่ก็ยังคงใช้คำคำนั้นอยู่ 

 

ในขณะเดียวกันพี่ก็เชื่อในหลักของธรรมะนะคะ เชื่อในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และแดดดี้ของพี่ “ลูกป๋าทำได้” เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง บางทีคนเราไม่ได้เชื่อมั่นในทุก ๆ อย่างหรอก อย่างที่บอกว่าพี่เป็นคนที่คิดหน้าคิดหลังเยอะมาก กลายเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเองด้วยซ้ำ เป็นสิ่งหนึ่งที่คนไม่รู้นะคะ พี่เป็นคนที่ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในตัวเองตั้งแต่เด็กค่ะ

 

ป๋าเป็นคนคนหนึ่ง ที่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกตัวเองเป็นคนทำอะไรได้และไม่ได้ ทุกคนถ้ารู้จักพี่ตู่จริง ๆ นะ ตรงนั้นนอกจากมีแม่แล้วก็จะมีคุณพ่อ ตอนที่พี่ได้รับรางวัลมาใหม่ ๆ ก็มีบริษัทที่มีชื่อเสียงในไทยที่เซ็นสัญญากับเมืองนอกด้วยนะคะ เราก็รู้ว่ามีบริษัทอะไรบ้าง แต่คุณพ่อ ความฝันของเขาแค่ต้องการให้ลูกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เท่านั้นในตอนเด็ก พอช่วงเวลาวัยรุ่นจะทำอะไรก็ว่าไป แต่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ ก็คืออายุ 3-4 พี่ก็เหมือนยายเพลงนั่นแหละ 

 

พ่อก็พาไปเต้นรำโน่นนี่นั่นทุกอย่าง แต่พ่อก็ให้รางวัล วันเสาร์-อาทิตย์ก็ไปทะเล พาไปทานแพนเค้กที่อร่อย ๆ ที่สุดที่ลูกชอบ พ่อต้องพาลูกไปเดินห้างไดมารู ไปเซ็นทรัลแถวสีลม ทะเลนี่ไปตลอด แต่วันจันทร์ถึงศุกร์ก็มีกิจกรรมเยอะเหลือเกิน ไปเรียนเต้นรำกับพี่ชายแถวอาคารเฉลิมเกียรติ เรียนบัลเล่ทั้งที่ตัวก็อ้วน เรียนร้องเพลงตอนอายุ 11 เพราะคุณพ่อบอกเรียนเต้นรำตอนเด็ก ๆ 4-8 ขวบมันน่ารักไง พอ 10 ขวบโตแล้วแขนมันเก้ง ๆ กัง ๆ ไม่น่ารักก็ไปเรียนดนตรี มันมีหลายอย่างค่ะ แต่พอบอกว่า “ลูกป๋าทำได้” มันเกิดจากคำคำนี้ค่ะ มันเป็นเหมือนอาวุธของเราอย่างหนึ่ง

 

สมัยก่อนชื่อนุจรีย์นะคะ พ่อป๋าบอกนี่ โอ้โหเต้นแพรวพราว อื้อหือเด็กคนนี้แค่ 6 ขวบ เต้นแถว ๆ สวนลุมพินี สมัยก่อนมีทีแดนซ์ มีแชมป์เปี้ยนจากประเทศต่าง ๆ เขาจะมาโชว์ พอครูคนนี้มาจะเรียนไหม เราบอกเรียน ไปเต้น 1 and 2 and 3 and 4 and 5 and 6 and 7 8 (โชว์เต้นให้ดู) อะแค่นี้ 1,000 บาท แค่นี้ค่ะ สมัยนั้นหนึ่งพันบาทเยอะมากนะ สมัยนั้นมิสเตอร์ชิโนดะ เขาเป็นแชมป์เปี้ยนของญี่ปุ่นมาเต้นคู่กัน พวกคนที่เป็นแชมป์ของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงก็มาดูกัน 

 

ที่สวนลุมพินีสมัยก่อนก็มีวงดนตรีสุนทราภรณ์เล่นนะคะ ทุกศุกร์เสาร์พี่ก็จะไปเรียนเต้นรำ พอเราไปเขาก็จะเห็นบ่อย ๆ ว่าเด็กคนนี้เป็นใคร สองคนพี่น้องมาเต้นบนฟลอร์ใหญ่ ๆ ที่คนเต้นกันแน่น ๆ นั่นคือสิ่งที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง จนกระทั่งเราก็ไปเรียนค่ะ เรียนกับครูศักดา แสงดาว ครูบุญเลิศ เราเป็นลูกศิษย์เรียนวอลซ์หรือเรียกจังหวะบอลรูม (หัวเราะ คนรุ่นเดียวกันมักจะคุยกันรู้เรื่องนะคะ เด็กสมัยนี้อาจจะไม่รู้จักแล้ว) พอจังหวะร็อคเราก็ไปเรียนกับครูคนอื่นอีก ก็ไปซื้อสเต็ปจากครูเหล่านี้อะไรอย่างนี้นะคะ หนึ่งเพลงยาว 2-3 นาที เต้น 1 and 2 and 3 and 4 and 5 and 6 and 7 8 ก็ราคาเป็นหมื่นค่ะ

 

คุณพ่อต้องการว่าเมื่อเรียนแล้วต้องไปออกสนามให้คนเห็น เพื่อฝึกเราจะได้ไม่กลัวด้วย แต่จริง ๆ แล้วเราไม่อยากเพราะมันตื่นเต้น แต่คุณพ่อคุณแม่ล่อด้วยข้าวเหนียวมะม่วง (หัวเราะ) ดูสิความเป็นเด็กของเราอะ นุจรีย์อยากกินข้าวเหนียวมะม่วง (หัวเราะ) อะไรเนี่ย

 

 

Host: พ่อจ่ายไปหมื่นนึงจริง ๆ เสียแค่ตรงนี้ถูกกว่าอีก

 

คุณแม่ตู่: ใช่ จ่ายถูกมากแดดดี้ ไม่ใช่เต้นแล้วได้เงินนะได้เป็นผ้าเช็ดตัวกลับมา มีผ้าเช็ดตัวเต็มเลยที่บ้าน (หัวเราะ) มีทุกสีเลย คือพ่อเขาต้องการฝึกให้ลูกกล้า เพราะคุณพ่อทำงานสถานทูตอเมริกา พ่อจะปิดถนนซอยหน้าบ้านเราจัดงานเลี้ยงนายเลี้ยงลูกน้อง พี่สาวชอบทำอาหารก็ทำอาหาร ส่วนฉันก็เต้นรำ คุณพ่อชอบดนตรีค่ะ ก็จะมีวงดนตรีมาเล่นซึ่งมันก็เป็นความสุขในครอบครัวค่ะ ทุกเดือนด้วยนะที่คุณพ่อจัด 

 

แล้วพอเต้นรำเป็นก็ร้องเพลงเป็น ตอน 6-7 ขวบก็ร้องเพลงได้เอง แต่เต้นรำนี่เก่งเลยเพราะเรียนมา ร้องพลงไม่ได้เรียน คุณพ่อบอกก่อนจะเต้นรำ ร้องเพลงโชว์ก่อน เราก็อะไรกันแต่ก็ร้อง “สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน สาละวันเอ้ย สาละวันเตี้ยลง เตี้ยลง” ชุดของพี่ตอนนี้ก็ยังเก็บไว้เลย กระโปรงสั้นแค่คืบนึง ตั้งแต่เล็กจนโตคุณแม่จะเก็บของพวกนี้ไว้หมดเลย ซักให้สะอาด 

 

ทุกวันนี้ยังเอาเสื้อผ้านั้นมาดู ชุดที่เราเต้นรำตั้งแต่เด็ก ๆ กระโปรงคุณแม่ปักเลื่อมให้หมดทุกตัวด้วยมือคุณแม่เอง แล้วช่างที่เขาเย็บสมัยก่อนที่ดิโอลด์สยามปัจจุบันนี้ค่ะ เขาเย็บ 10 โมงเช้า 3 โมงเย็นเสร็จแล้ว พอ 1 ทุ่มเราก็ไปเต้น ใส่ชุดใหม่ บางทียังคันอยู่เลยนะ (หัวเราะ) เพราะผ้ามันยังแข็งอยู่เลย ทุกวันนี้ทุกชุดก็ยังเก็บไว้ นึกแล้วมัน flash back ภาพตัวเอง แล้วคุณพ่อถ่ายวิดีโอหนังเอาไว้

 

 

Host: หนูเห็นความรักของแม่พี่

 

คุณแม่ตู่: แล้วคุณพ่อถ่ายวิดีโอหนังเอาไว้ เพราะคุณพ่อชอบฉายหนังดูในบ้าน หนังขาวดำค่ะ สมัยก่อนคุณพ่อตามคุณย่าศรีนวลไป คุณย่าเล่นละครร้องในโรงหนังค่ะ ละครร้องในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เล่นในโรงหนัง เขาก็ต้องฉายหนังก่อนที่ละครเวทีจะขึ้น คุณพ่อก็เห็นอย่างนี้มาก็เลยชอบที่จะฉายหนัง พอเครื่องฉายหนังเขาเสีย คุณพ่อก็ด้วยความสนใจก็ช่วยซ่อมให้เขาอะไรอย่างนี้ค่ะ ก็ฉายหนังให้ลูกดูที่บ้าน ฉายบนกำแพงค่ะ มันเป็นความสุขในครอบครัว 

 

พี่ถึงชอบเขียน journal เพราะคุณแม่เป็นคนชอบตัดข่าวในหนังสือพิมพ์แล้วทำเป็นอัลบั้มรูปของลูกไว้ เก็บทุกอย่างที่เกี่ยวกับลูก งานที่ใครเชิญเราไปเป็นงานการกุศล ซองจดหมายเชิญต่าง ๆ เก็บไว้หมดอะไรแบบนี้ คุณแม่ทำให้หมด ที่บ้านทั้งกำแพงก็จะมีเรื่องราวของเราปรากฏอยู่ อยากจะดูตัวเอง แมกกาซีนทุกอย่าง เราก็หยิบมาอ่านข่าวของเรา แล้วก็รูปภาพคุณพ่อเป็นคนถ่ายแต่จะไม่มีรูปคุณพ่ออยู่ในนั้นเลย 

 

และเช่นเดียวกัน พอพี่มาทำให้น้องเพลงเพราะคุณพ่อทำให้พี่แบบนี้ พี่ก็ทำแบบนี้ เป็นตากล้องก็จะไม่มีรูปพี่เลย มีรูปน้องเพลงกับแดดดี้เขา น้องเพลงกับคุณยาย แต่ทุกวันนี้ให้ลูกทำ journal ของตัวเองเพราะว่าเอามาให้แม่แล้วลูกไปทำอะไร ๆ มา เสร็จปุ๊ปแล้วเขาเอามาให้แม่ ตั๋วเครื่องบินครั้งแรกที่เขาขึ้นเครื่องบินเองที่นั่งก็ยังอยู่ บางเรื่องบางทีเราลืม ขนาดเราอยู่กับลูกทุกวันยังเอ๊ะ มันมีเหตุการณ์แบบนี้ด้วยหรือลูก บางทีวันดีคืนดีเรามาอ่านแล้วมันสนุกมาก ลูกมีมุมตลก ๆ แบบนี้ด้วยตอนเด็ก ๆ “เฮ้ยยู ไปกัดเขา แล้วไอต้องไปขอโทษเขาด้วยภาษาเยอรมัน” (หัวเราะ) ก็เรียนโรงเรียนอินเตอร์แล้วตอนนั้น

 

พ่อบอกอยากให้ลูกเรียนประสานมิตร ยายก็บอกไม่ต้องเรียนโรงเรียนฝรั่งเรียนอินเตอร์ พ่อบอกแม่ครับลูกผมนะครับ (หัวเราะ) อีกวันหนึ่งแม่มาเลยนี่โรงเรียนใกล้บ้านชื่อ พาร์คเพลส อยู่ในหมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส ก็ถามอะไรแม่มันเป็นบ้านนะ แม่บอกก็นี่ไง ก็ไปดูกัน มีลูกเขา2คนและก็ลูกนันทิดาคนเดียว แม่..คุณเอ๋เขาจะว่าไหมเนี่ย (หัวเราะ) โรงเรียนมีกันอยู่ 3 คน 

 

คุณเอ๋เขาอยากให้ลูกเรียนประสานมิตร แล้วอย่างนี้หนูจะเอาอะไรไปต่อรองกับเขา ก็หูยตายแล้ว ทำยังไงดีเนี่ย ก็เอาวะ แม่บอกเรียนใกล้บ้านก่อน ฉันขับรถส่งหลานฉันได้ แล้วเดี๋ยวค่อยว่ากัน ตกลงว่าเรียนกัน 5 คน มีนาตาลีลูกเยอรมัน น้องเพลงไปกัดเขาทุกวัน ตอนหลังพ่อแม่เขาบอกกัดบ่อย ให้กัดตอบลูกฉันบ้าง (หัวเราะ) เรานึกในใจ ก็ดีให้เพลงถูกกัดบ้างก็ดี จะได้เรียนรู้บ้างว่าเขาเจ็บยังไง พอเราส่งลูกแล้วก็บอกยายจอดรถไกล ๆ แอบดูลูกหน่อย เห็นนางกำลังกินไข่ ชอบกินไข่สก็อต ทุกวันนี้ก็ยังกินอยู่เลย

 

 

Host: มันเป็นยังไงคะ

 

คุณแม่ตู่: ไข่ต้มนี้แหละแล้วก็มีหมูสับชุบกับแป้งโกกิ แล้วก็มีไข่ตอกลงไปสด ๆ แล้วไปทอด ทุกวันนี้นางก็ยังทำไข่สก็อตให้ทานอยู่เลย นั่นคือเมนูเขาตอนเด็ก ๆ ไงเขาก็ชอบทำให้ทาน

 

พอคุณพ่อป่วย วันนั้นเป็นวันที่พี่เริ่มรู้เลยค่ะ คุณพ่อสอนอย่างหนึ่งค่ะ เป็นคำที่พี่เชื่อมาตั้งแต่เด็กจนโต มาจากนุจรีย์มาเป็นนันทิดานะคะ หนึ่ง “ลูกป๋าทำได้” จากคนที่ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ใครจะรู้ บางคนขึ้นเวทีจะต้องกินไวน์ก่อน บางคนต้องสมาธิ แต่ของพี่คือใช้คำนี้ “ลูกป๋าทำได้” คนเราจะมี mindset ตรงนี้ ที่เราตั้งไว้ เราเชื่อแล้วเป็นพลังมันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราอีกที 

 

สอง คุณพ่อสอนตลอดค่ะ “Face to Fact” แม้ตอนนั้นฉันต้องกลายเป็นคุณแม่ที่เป็น single mom คุณพ่อพูดมาคำหนึ่งบอกว่า “ถูกใจ กับ ถูกต้อง ไม่เหมือนกันนะลูก” พี่ยังจำคำนี้ได้เลย น้ำตาที่มันหยดในวันนั้น คุณพ่อบอกว่าเดี๋ยวลูกจะร้องไห้แค่ 3 เท่านั้นนะ แล้วจะไม่มีน้ำตาจากลูกของป๋านะ 

 

พ่อคือหนังสือเล่มเดียวที่ลูกใช้อันนี้มาเป็นอาวุธของลูก ลูกถึงรู้ว่า “Face to Fact” ของพ่อนั้น คือความจริงของพ่อที่พ่ออยู่ประคองลูกตลอดเวลา พี่กล้าพูดคำนี้เลยว่า ป๋า พ่อ หรือ dad คำ ๆเดียวกันนี้ He is God. He is my  Hero. พ่อไม่เคยคอมเพลน ใคร ไม่เคยตัดสินใครว่าถูกผิด นี่คือสิ่งที่พี่รู้สึกและนึกถึงพ่ออย่างนี้ตลอด 

 

พ่อไม่ตัดสินใคร คุณพ่อรักคุณเอ๋ค่ะ ทุกคนที่มีชีวิตที่มาเจอกันคือสิ่งที่ดีงามสำหรับพี่แล้ว ในวันที่แบบอย่าเพิ่งให้ลูกโตไปกว่านี้เลย เพราะให้เอ๋ไปตอนนี้ เอ๋ทำใจได้ง่ายกว่า เพราะเขาก็รักลูกสุดหัวใจ ขอพูดคำพูดที่ไม่เคยพูดเลยนะคะ “ความรู้สึกของพ่อคนหนึ่งที่จะบอกตรงนี้ แต่รักลูกสุดหัวใจ ทุกวันนี้คำพูดเหล่านั้น มันได้ยินเป็นคำว่าผู้หญิงของฉันคือ ชนม์ทิดา”

 

 

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  คุณแม่ตู่ นันทิดา แก้วบัวสาย / สุรางคณา สุนทรพนาเวศ

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER