พลิกแฟ้มคดีปวดใจ EP.01 การจดทะเบียนรับรองบุตร

08 ตุลาคม 2020 209 ครั้ง

พลิกแฟ้มคดีปวดใจ EP.01 การจดทะเบียนรับรองบุตร

"การจดทะเบียนรับรองบุตร" มีความสำคัญอย่างไร พบคำตอบได้ใน พลิกแฟ้มคดีปวดใจ EP.01 การจดทะเบียนรับรองบุตร

 

ลำดับแรกนี้ ขออธิบายคำจำกัดความของ "กฎหมายครอบครัว" เสียก่อน ว่าได้เริ่มต้นตั้งแต่พิธีหมั้น ที่มีการทำพิธี รวมถึงสินสอดทองหมั้น หากหลังจากนั้นมีเหตุให้ต้องแยกทางกัน หากฝ่ายหญิงถูก สามารถริบสินสอดทองหมั้นได้ แต่กลับกัน หากฝ่ายชายเป็นฝ่ายถูกก็สามารถเรียกสินสอดคืนได้เช่นเดียวกัน

 

ส่วนเรื่อง “การสมรส” นั้น ตามหลักกฎหมายที่รับรองและคุ้มครอง คือ จดทะเบียนสมรส ถ้าหากไม่ได้ไปจด สิทธิและหน้าที่จะมีความต่างกันอย่างมาก แต่หากแต่งงานไปสักระยะ และมีการจดทะเบียนสมรสตอนหลัง ก็มีผลย้อนหลังเช่นกัน

 

สำหรับ "การจดทะเบียนรับรองบุตร" นั้นสามารถทำได้ เช่น อยู่ด้วยกันมานานแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วเกิดมีบุตรด้วยกัน และ ภายหลังได้มีการไปจดทะเบียนสมรสแล้ว ให้ถือว่าบุตร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นพ่อตั้งแต่เกิดทันที แม้ว่าลูกจะมีอายุ 10 ขวบแล้วก็ตาม

 

กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วมีบุตรด้วยกัน บุตรจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่เสมอ และบุตรก็จะกลายเป็น บุตรนอกกฎหมาย หรือ บุตรนอกสมรสของผู้เป็นพ่อ แต่เมื่อไรก็ตามหากมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว พ่อกับแม่ก็จะมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกันโดยชอบด้วยกฎหมายทันที (เหมือนที่ได้อธิบายตอนต้นว่า มีผลย้อนหลัง)  

 

 

ความสำคัญของอำนาจปกครองบุตร 

 

เริ่มต้นจาก

 

 1. กำหนดถิ่นที่อยู่ของบุตร

 

2.ดูแลเรื่องทรัพย์สินของบุตร

 

กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ผู้เป็นพ่อมีความต้องการที่จะทำตัวเป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถที่จะไปเยี่ยมเยียนบุตรได้ตามสมควรอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ "การจดทะเบียนรับรองบุตร"

 

การรับรองบุตร มี 2 อย่าง คือ ทางพฤตินัย และ นิตินัย การที่มีชื่อเป็นบิดาอยู่ในใบเกิดของเด็กถือเป็นการรับรองทางพฤตินัย รวมทั้งการแสดงออกให้สังคมรับรู้ เช่น การจูงมือพาลูกเข้าโรงเรียน หรือ การแนะนำตนว่าเป็นพ่อเป็นลูกต่อคนอื่นๆ  บุตรก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกของบิดาได้ แม้บิดาและมารดาไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส  

 

แต่ในทางกลับกันหากบุตรเสียชีวิต ทรัพย์สิน หรือ มรดก ของบุตรก็จะตกเป็นของมารดาเท่านั้น บิดาไม่มีสิทธิ์ 

 

 

 

กฎหมายกำหนดหน้าที่ของ “พ่อและแม่” อย่างไร         

 

สำหรับพ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรสแล้วมีบุตรด้วยกัน นอกจากอำนาจปกครองแล้ว กฎหมายก็กำหนดหน้าที่ของผู้เป็นพ่อและแม่ คือจะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนบรรลุนิติภาวะ และ ในกรณีที่บรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม แต่เป็นบุคคลทุพพลภาพไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ผู้เป็นพ่อและแม่ที่ชอบโดยกฎหมายก็ต้องดูแลตลอดไปตามหน้าที่

 

ส่วนกรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้เป็นพ่อจะกลายเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ หากต้องการอำนาจในการดูแล ต้องไปเป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือ ผู้ที่เป็นแม่อาจร้องขอให้มีการแสดงว่าผู้ชายคนนี้คือพ่อของเด็กซึ่งเป็นลูกของตัวเองก็ทำได้ รวมทั้ง ลูกก็สามารถไปร้องขอพนักงานอัยการช่วยดำเนินเรื่องให้ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่ร้องกันมาว่าเป็นพ่อลูกกันจริงหรือไม่ และ จะจบด้วยการให้ไปจดทะเบียนรับรองบุตร

 

 

 

การจดทะเบียนรับรองบุตรโดยสันติวิธีคืออะไร

 

พ่อและแม่ตกลงกันได้ รวมถึงตัวเด็กที่มีอายุพอจะสามารถแสดงเจตนาได้ หรืออายุ 10 ขวบขึ้นไป และ การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องให้ มารดาและเด็กให้ความยินยอมด้วยว่าผู้ชายคนนี้คือพ่อ จึงจะสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้ และ ถ้าเกิดติดขัดก็สามารถร้องต่อศาลฯ เพื่อให้มีคำสั่งจดทะเบียนรับรองบุตรได้

 

ถ้าผู้เป็นพ่อไม่สะดวกจดทะเบียนรับรองบุตร หลายท่านอาจคิดว่าการตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นจริงทางนิติวิทยาศาสตร์ถึงจะเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว พยานแวดล้อมก็เป็นหลักฐานได้ เช่น การจัดพิธีแต่งงาน แขกในงานก็สามารถเป็นพยานแวดล้อมที่ใช้สืบพยานได้ว่า ผู้ชายคนนี้เป็นพ่อของเด็กจริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจ DNA เสมอไป

 

ซึ่งในข้อนี้จะตอบคำถามที่เป็นคดีปวดใจของเราว่า ในทางกลับกันเมื่อผู้เป็นพ่ออยากจดทะเบียนรับรองบุตร แต่ผู้เป็นแม่ไม่ยินยอม ก็คือต้องไปร้องศาลฯ เช่นเดียวกัน ร่วมถึงการแสดงตัวตนว่าเป็นพ่อของเด็ก และ ใช้พยานหลักฐานที่มีอยู่ประมวลได้ 

 

ซึ่งในหลักการนั้น ศาลฯ มักจะเห็นแกสวัสดิภาพของเด็ก โดยเอาประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง ดูจากความสามารถในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและมาแสดงตนว่าจะเป็นบิดาเพื่อจะจดทะเบียนรับรองบุตร 

 

 

 

กรณีตัวอย่าง

 

เด็กที่อยู่ต่างจังหวัดพ่อแม่เลิกรากัน ญาติเป็นผู้ดูแล เมื่อมีปัญหาว่าเด็กถึงเกณฑ์ที่ต้องเข้าโรงเรียนแต่ผู้เป็นพ่อและแม่ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสเลิกรากันไป ไม่สามารถเดินทางมาเซ็นเอกสารยินยอมให้ผู้เป็นบุตรได้  

 

ทางออกคือ ต้องให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว และผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์แห่งนั้นจะมีอำนาจเป็นผู้ปกครองแทนพ่อและแม่ของเด็ก รวมถึงมีอำนาจในการให้เด็กเข้าเรียนหนังสือด้วย หลังจากนั้นญาติผู้ดูแลเด็ก เช่น ลุง ป้า จึงจะสามารถรับเด็กกลับมาเลี้ยงดูได้

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  อ.ชัยยง อัชฌานนท์ อดีตกรรมการสภาทนายความ และ คุณนฤมล พุกยม 

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ถอดเทปเสียง: เจษฎา สดครั่ง

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

OTHER