เราจะสู้ไปด้วยกัน EP.37 ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากให้ได้ผลเป๊ะ ๆ

13 พฤษภาคม 2020 139 ครั้ง

เราจะสู้ไปด้วยกัน EP.37 ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากให้ได้ผลเป๊ะ ๆ

หลายที่ต่างมีมาตรการตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกาย และผลที่ได้บางครั้งก็ผิดเพี้ยนจนน่าสงสัย แท้จริงแล้วการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิให้ได้ผลแม่นยำ ต้องทำอย่างไร

ทุกวันนี้เวลาเราจะเข้าไปในห้างร้านต่าง ๆ จะมีพนักงานคอยวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก และกดเจลล้างมือให้เรา เป็นมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส แล้วเคยสงสัยไหมคะว่า เครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก ทำงานอย่างไร แค่เอามาจ่อแล้วรู้ได้อย่างไร 

 

หลักการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก (Forehead Thermometer) คือ วัตถุต่าง ๆ ที่มีอุณหภูมิจะแผ่รังสีความร้อนออกมาด้วยตัวเอง เครื่องวัดนี้จะมีหัววัดที่สามารถวัดการแผ่รังสีความร้อนนั้น แล้วประมวลผลออกมาเป็นอุณหภูมิ แม้ว่าตัวอุปกรณ์จะมีลักษณะคล้ายปืนแต่ไม่มีการยิงอะไรออกมาเลย เป็นเพียงการรับการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุเท่านั้น 

 

จะใช้งานให้ได้ดี ตัวเครื่องวัดควรอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่จะทำการวัดไม่น้อยกว่า 30 นาที เพราะเครื่องจะทำการวัดอุณหภูมิแวดล้อมที่เครื่องอยู่ว่ามีค่าเท่าไร แล้วจะทำการประมวลผลหาผลต่างระหว่างอุณหภูมิหน้าผากและอุณหภูมิร่างกายที่อุณหภูมิแวดล้อมนั้น ๆ เมื่อเครื่องคำนวณได้แล้วก็จะนำค่าที่ได้ ไปบวกกับค่าอุณหภูมิที่วัดได้จากที่หน้าผาก แล้วแสดงค่าเป็นอุณหภูมิร่างกาย 

 

ฉะนั้นผู้ที่ถูกตรวจ ควรอยู่ในบริเวณที่ทำการวัดอย่างน้อย 5 นาที โดยประมาณ เพราะถ้าเราเดินจากด้านนอกที่อากาศร้อนมาก แล้วเข้าไปวัดเลยผิวหนังก็ยังร้อนอยู่ ผลการวัดก็เพี้ยน และต้องจ่อเครื่องที่หน้าผากไม่เกิน 15 เซนติเมตร และจะให้แน่ใจยิ่งขึ้น ต้องวัดซ้ำกัน 3 รอบ

 

แน่นอนว่า ถ้าเราจะหาซื้อมาใช้ต้องเลือกที่มีการรับประกันคุณภาพ ได้รับการรับรองถูกต้อง เพราะต้องใช้การประมวลผล และตัวรับความร้อนที่ได้มาตรฐาน

 

 

#เราจะสู้ไปด้วยกัน

 

ข้อมูล : ดร.อธิคม มาน้อย นักมาตรวิทยา สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER