Mom Gen 2 EP.14 เด็กยุคดิจิทัลเสี่ยงฆ่าตัวตาย

25 พฤษภาคม 2020 80 ครั้ง

Mom Gen 2 EP.14 เด็กยุคดิจิทัลเสี่ยงฆ่าตัวตาย

“เด็กยุคดิจิทัลเสี่ยงฆ่าตัวตาย” ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สาเหตุเกิดขึ้นได้เพราะอะไร มารู้เท่าทันเพื่อการป้องกันและทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันค่ะ

ทราบไหมคะว่า ไทยมีผู้เสียชีวิตต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 4,000 ราย ต่อปี

 

ส่วนตัวเลขคนที่พยายามฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 คน ต่อปี

 

ตามสถิติขององค์การอนามัยโลก ไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย 14.4% ต่อประชาการ หนึ่งแสนคน เป็นอันดับที่ 32 ของโลก นับว่าเป็นอันดับที่สูงมาก ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า คนที่พยายามฆ่าตัวตาย มีมากกว่าที่ตายจริง 3 เท่า

และสาเหตุส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจ แต่มาจากเหตุผล ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เบื่อโลก 

 

สำหรับบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เช่น สามี ภรรยา คนรัก พ่อแม่ หน้าที่การงาน ทั้ง ๆ ที่รอบ ๆ ตัวมีสารพัดแอพพลิเคชั่น โซเซียลมีเดีย สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แต่กลับมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์มาก มีคนที่มีปัญหาทางสภาพจิตใจ 1 ใน 10 คน ทั้งดูจากภายนอกออกและดูไม่ออก

 

แต่ละวัยที่ฆ่าตัวตายก็ล้วนมาจากปัญหาต่างกัน แต่โดยรวม คนที่ฆ่าตัวตาย (ไม่นับรวมผู้ที่มีความผิดปกติเรื่องสารสื่อประสาทในสมอง) จะมีภาวะความเครียด ภาวะซึมเศร้าที่เป็นกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดทักษะชีวิตในการรับมือกับปัญหา หรือการจัดการกับความเครียด

 

วัยรุ่น ทำไมฆ่าตัวตาย

 

ปัญหาของเด็กและวัยรุ่น เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ การค้นหาต้วเอง ความรัก การเผชิญปัญหาในโลก ทั้งโลกจริง และโลกออนไลน์ ซึ่งก็เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดความกดดัน ความเครียด ทำให้กังวล เศร้า ถ้าได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็จะดีขึ้น แต่ถ้าปล่อยไว้ ก็จะเกิดอาการป่วยทางด้านจิตเวชได้ ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติ ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

 

ปัจจัยที่มีผลให้เด็กวัยรุ่นฆ่าตัวตาย

 

1 พื้นนิสัยใจเปราะบาง บางคนอ่อนไหวง่าย มีอะไรมากระทบก็เสียใจง่าย ผิดหวังง่าย คิดมาก

 

2 การแข่งขัน และความเร่งรีบ เป็นภาวะที่เด็กเผชิญทุกวัน เด็กที่ไม่สามารถผ่านไม่ได้ ก็เกิดความเครียด

 

3 ถูกขีดเส้นให้เดิน ไม่เป็นตัวของตัวเอง จะเป็นการสะสมความเครียดให้เด็ก เมื่อเขาเติบโตขึ้นอยากเป็นตัวของตัวเอง ก็จะเกิดความขัดแย้ง

 

4 เปลี่ยนชีวิตกระทันหัน คือมีเหตุการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัว ทำให้เขาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

 

5 กดดันตัวเอง เด็กตัวนี้จะมีความเครียดสูง

 

6 ยืดหยุ่นไม่เป็น เรื่องนี้เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะชีวิตไม่จำเป็นต้องมีทางเดียว สีเดียว ทุกอย่างมีทางออกเสมอ

 

7 ชอบเก็บตัว พูดน้อย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ พ่อแม่ต้องให้ลูกค้นพบวิธีคลายเครียด

 

8 หาความสุขง่าย ๆ ให้ตัวเองไม่เป็น

 

สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทำได้ คือ ต้องสร้างลูกให้เข้มแข็งตั้งแต่เล็ก ให้ลูกรู้จักหาทางคลายความเครียด หาความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เป็น ต้องรู้จักความยืดหยุ่นในชีวิต ทำชีวิตให้ง่าย สร้างพลังใจในชีวิตให้เป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปบอกลูก ต้องมาจากตัวพ่อแม่เองก่อน ถ้าเราสามารถจัดการชึวิตของเราได้ เราสามารถบอกลูกได้ ถ่ายทอดให้ลูกรู้สึกได้

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER