On the Way Home EP.14 เรื่องน่ารู้ของผู้หญิงสมัยอยุธยา

28 พฤษภาคม 2020 76 ครั้ง

On the Way Home EP.14 เรื่องน่ารู้ของผู้หญิงสมัยอยุธยา

ชวนฟังเรื่องเล่าของ "สองยาย” ในสมัยอยุธยา ที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจและชวนติดตามขนาดไหน มาฟังไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ถ้าเป็นการบันทึกเกี่ยวกับบ้านเมือง หรือบุคคลสำคัญมักเป็นผู้ชาย เรื่องราวของผู้หญิงมีให้อ่านน้อยมาก บางเรื่องก็สนุกและชวนให้ศึกษามากมาย ยกตัวอย่างจากเรื่องราวที่ บินหลา สันกะลาคีรี นำมาถ่ายทอด ซึ่งเรื่องนี้ได้ปรากฎอยู่ในพงศาวดารภาคที่ ๘ เป็นเรื่องของหญิงคนหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่ถึง ๓ กรุง ได้แก่ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนาโกสินทร์ (๗ แผ่นดิน) ชื่อว่า สา

 

ยายสาอยู่ร่วมในเหตุการณ์วันที่ขุนหมื่นอู สามีของยายสา พระเจ้าเอกทัศหลบหนีในวันที่กรุงฯ แตก และได้มอบหนังราชสีห์ที่ห่อไว้อย่างดีให้กับยายสาให้เก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้พม่าเอาไปได้ เมื่อกรุงศรีฯ แตกแล้ว ยายสาไปอยู่กับญาติที่ปากคลองบางหลวง ธนบุรี เก็บรักษาห่อหนังนั้นไว้จนลืม

 

จนกระทั่งล่วงเข้าวัยชรา ยายสาระลึกได้ว่าสิ่งนี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงนำไปมอบให้ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๓) และเล่าความเป็นมาของหนังผืนนี้ ว่าคือ หนังราชสีห์ ที่เพราะเจ้าเอกทัศทรงให้รักษาไว้ และย้ำว่าอย่าให้ตกไปถึงมือพม่าได้

 

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ ในปี ๑๑๖๑ เป็นเวลา ๑๐๕ ปี หลังจากที่บันทึกเรื่องของยายสา ว่ามรดกของพระเจ้าเอกทัศ ผืนนี้สาบสูญไปแล้ว ไม่มีใครสนใจที่จะติดตาม ทรงสันนิฐานว่า อาจเป็นเพราะรัชกาลที่ ๓ คิดว่าไม่ใช่หนังราชสีห์​ เนื่องจากเป็นสัตว์ในจินตนาการในวรรณคดี ยายสาอาจจะไม่ได้พูดจริง

 

ข้อเท็จจริงที่ว่า สิงโต ก็คือ ราชสีห์ เพิ่งมาปรากฎในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีหลักฐานชัดเจนว่า ในปีแรก ๆ ของพระเจ้าเอกทัศ มีพ่อค้าชาวอังกฤษ นำสิงโตและนกกระจอกเทศจากแอฟริกาเข้ามาถวายพระเจ้าเอกทัศ สิงโตตัวนั้นสูง ๓ ศอก มีเอกสารยืนยันว่า ปลายรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ เวลาออกว่าราชการ จะมีหนังราชสีห์ลาดปูรองพระบาทอยู่ เพราะฉะนั้นก็น่าจะเป็นผืนนี้ เพราะว่าในสมัยก่อน สิงโตไม่ใช่สัตว์ที่มีอยู่ในภูมิภาคนี้

 

ถึงแม้จะเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ไม่รู้ว่าหนังราชสีห์ผืนนั้นอยู่ที่ไหน หรือเป็นมาอย่างไร แต่ก็สะท้อนให้เห็นสัจธรรมชีวิตว่า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นถาวร

 

ยังมีเรื่องราวของ "ยาย" อีกเรื่องที่อยู่ในบันทึกของ เยเรเมียส ฟรานฟลีต หรือในชื่อไทยคือ วัน วลิต ชาวฮอลแลนด์ ที่มีชีวิตในสมัยอยุธยา ได้จดบันทึกเรื่องของ "ยาย" คนหนึ่งไว้ดังนี้

 

มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง มักจะเสด็จในยามดึก และไปกับข้าราชบริพานกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น เพื่อลอบฟังข่าวต่าง ๆ วันหนึ่งขณะล่องเรือไป ฝนตกหนักจึงเสด็จขึ้นไปบนบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ริมน้ำ บ้านนั้นมีหญิงชรายากจนอาศัยอยู่ พอกษัตริย์องค์นี้เข้าไปในบ้าน ยายก็รีบบอกว่า "ลูกแม่ ลูกไม่รู้หรือว่าพระเจ้าแผ่นดินอาจเสด็จมาใกล้ ๆ แถวนี้" พระองค์ก็ตอบกลับไปว่า "ถ้าพระองค์มาได้ยินก็ถือว่าเป็นคราวเคราะห์" ยายได้ยินแบบนั้น ก็ว่ากล่าวว่า "ทำไมถึงพูดถึงพระเจ้าแผ่นดินด้วยถ้อยคำเช่นนั้น เราต้องเชื่อฟังบุคคลที่เทพยดาส่งมาปกครองเรา ถ้ายังพูดไม่ดีก็ให้ออกจากบ้านไป" กษัตริย์จึงหยุด ยายจึงเอาเสื้อผ้ามาให้เปลี่ยนและเอาตัวที่เปียกไปซักและผึ่งให้แห้ง

 

เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว วันรุ่งขึ้นก็ให้ราชองครักษ์มาพาตัวยายเข้าไปในวัง ครั้งแรกยายตกใจมาก รีบบอกให้มหาดเล็กไปทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า นางตายไปแล้ว แต่มหาดเล็กก็เอาตัวไปจนได้ เมื่อเข้าไปในวัง พระองค์ก็รีบออกมาจูงมือแล้วตรัสว่า พระองค์เป็นคนที่ไปขอพักที่กระท่อมของยายนั่นเอง และยายได้เรียกพระองค์ว่า "ลูก" ดังนั้น พระองค์ก็จะเรียกยายว่า "แม่" และดูแลยายดุจมารดา จนยายสิ้นชีวิตลง ก็จัดงานให้ดุจมารดาเช่นกัน พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ก็คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นั่นเอง

 

เราจะเห็นได้ว่า การจดบันทึกมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์มากมาย ถ้าไม่มีบันทึกเหล่านี้ เราคงไม่มีทางรับรู้เลยว่า ในอดีตมีเรื่องราวมากมายที่เป็นรากฐานและส่งผลถึงปัจจุบันมากมาย

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  รัศมี มณีนิล

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER