เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.11 Cognitive Distortion ภาวะสมองโกหก

07 พฤษภาคม 2020 334 ครั้ง

เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.11 Cognitive Distortion ภาวะสมองโกหก

ภาวะสมองโกหกคืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับวิกฤติในช่วงนี้? ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าเรามีแนวโน้มอยู่ในภาวะนี้? แล้วจะมีวิธีเยียวยาอย่างไร?

ตั้งแต่มีวิกฤติไวรัสโควิด-19 เราเคยสังเกตไหมว่า เราหรือคนอื่น ๆ มีปฎิกริยาตอบสนองต่อเรื่องหรือข่าวต่าง ๆ 

อย่างไรบ้าง เช่น เรารู้สึกว่าทุกอย่างแย่ไปหมด ต่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ไม่เคยดีเลย

 

รู้หรือไม่คะ ว่าคนที่มีอาการแบบนี้ในช่วงที่มีภาวะวิกฤติ เขาไม่ได้แกล้งทำ แต่เขารู้สึกแบบนี้จริง ๆ เขาคิดแบบนี้จริง ๆ ศัพท์ทางจิตวิทยาเรียกว่า Cognitive Distortion คือ ความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

 

สภาวะแบบนี้เกิดขึ้นได้เมื่อเราอยู่ในภาวะวิกฤติ และเขามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพที่มีมาก่อนหน้านี้ เป็นหรือไม่เป็น ขึ้นอยู่กับความเป็นไปในชีวิตของเขาก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤติด้วย

 

วันนี้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อที่ว่านอกจากทำความเข้าใจสมองคนอื่นแล้ว ก็ยังต้องทำความเข้าใจกับสมองตัวเองด้วย เพราะสิ่งที่แย่คือ เป็นอุปทานหมู่ ใครด่า เราก็ร่วมด่า เชื่อเรื่องเลวร้ายต่อ ๆ กันมา เป็นไปกันหมด จากกระแสของสังคม รับสื่อจากโซเซียลนี่แหละ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้สมองเราทำงานผิดปกติ

 

ภาวะสมองโกหก มีหลายรูปแบบ

 

- ได้ยินอะไรมานิดเดียวสรุปไปเลย... บางครั้งเป็นข้อสรุปที่อันตราย บางครั้งเราไปตัดสินคนอื่น ทำให้เกิดปัญหาที่ไกลกว่าที่เราคาดได้

 

- มองเห็นแต่ความเลวร้าย (มองไม่เห็นข้อดีเลย) ทำให้บางครั้งว่าเขาก่อนเรื่องดีออกไปด้วย ส่วนใหญ่จะเลือกเชื่อแต่ข้อมูลร้าย ๆ ไม่ค่อยเชื่อเรื่องดี (รับแต่เรื่องแย่อย่างเดียว)

 

- ตัดสินคนอื่นว่าควรทำอย่างนี้ (มีประโยคว่า ต้อง) ไปตัดสินคนอื่น

 

- รู้สึกแต่ว่าโลกช่างไม่ยุติธรรม ทำไมต้องเป็นฉันที่โดน คนอื่นไม่เห็นเป็นไร เป็นต้น

 

- ตัดสินคนจากพฤติกรรมเดียว เราไปตัดสินเขาเร็วมาก จากข้อมูลนิดเดียว ท้ัง ๆ ที่มีอีกหลายมิติที่เราไม่รู้

 

- ความกังวลใจที่จะเป็นโรค (เกิดในช่วงนี้เยอะ) เพราะอารมณ์เป็นตัวกำหนดความคิดของเรา แล้วสั่งสมอง

สมองก็กลับมาหลอกเราอีกที

 

ช่วยเหลือตัวเอง หรือคนอื่นได้อย่างไร

 

ในภาวะปกติ บางคนมีความเชื่อหรือความกังวลที่เป็นพื้นฐานปกติอยู่แล้ว มีพื้นฐานที่หาคนผิดอยู่แล้ว พอมีวิกฤติไปก่อกวนอารมณ์ขึ้นมา ทำให้ตัวอารมณ์นี้ไปก่อกวนสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนคิดอีกทีหนึ่ง ทำให้ทำงานได้ไม่ดี สิ่งนี้เราทำได้คือ ต้องช่วยตัวเองก่อน คือ ไม่ไปหงุดหงิดกับคนพวกนี้ (ถ้าเราไม่ใช่) ดูแลตัวเอง

 

เพราะแม้ว่าเราจะไปอธิบายอะไรให้เขา เขาก็เชื่อมั่นในความคิดของเขาอยู่ดี เพราะก็มีคนคิดเหมือนเขาในโลกออนไลน์เยอะแยะ เหมือนไปสนับสนุนความคิดของเขา เขาก็ไม่เชื่อคนที่คิดต่างกับเขา เพราะตอนนี้เขาเชื่อโดยการถูกหลอกด้วยสมองตัวเองอยู่ ไม่ได้เชื่อจากความคิดคนอื่น แต่ช่วยเหลือคนที่เป็นได้โดยการเอาเรื่องดีเข้าไปเจือจางเรื่องร้าย เราก็พยายามหาเรื่องดีไปให้เขาฟังบ่อย ๆ ฟังแล้วคล้อยตามบ่อย ๆ

 

ถ้าเราเป็นเอง เราต้องมาดูว่า เรามีรูปแบบอะไรที่มันรบกวนเราอยู่หรือเปล่า เช่น การดูโพสต์ที่เราเคยโพสต์ว่าซ้ำ ๆ ไหม ถ้ามีให้ใช้คำว่า “เอ๊ะ!” หรือไม่จริงตามที่เราคิด ตั้งคำถามในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่เราคิด ท้าทายความเชื่อของเรา จะได้ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ และ นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

OTHER