Mom Gen 2 EP.16 ฝุ่นพิษ 2.5 ทำเด็กป่วยถ้วนหน้า

08 มิถุนายน 2020 52 ครั้ง

Mom Gen 2 EP.16 ฝุ่นพิษ 2.5 ทำเด็กป่วยถ้วนหน้า

PM 2.5 ฝุ่นพิษที่กำลังรอเวลากลับมาเยือน แม้ว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะซาไป แต่หากไม่มีมาตรการจัดการที่จริงจัง อีกไม่นานปัญหานี้คงเวียนกลับมาอีกครั้งแน่ ฝุ่นเล็ก ๆ กับอันตรายที่ไม่เล็ก หากปล่อยไว้จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร เราสามารถป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง มาเริ่มจากตัวเรา เพื่อตัวเราและคนในครอบครัวกันก่อนค่ะ

วันนี้อยากมาชวนคุยเรื่อง ฝุ่นพิษ PM 2.5 ถึงแม้ว่าตอนนี้ปัญหาฝุ่นจะซาลงไปแล้ว แต่มันก็ยังคงอยู่ และก็จะวนมาอีกทีเมื่อถึงฤดูกาล แล้วเราก็ต้องมาวัดดวงกันว่าฝุ่นจะมากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน ต้องป้องกันตัวเอง แล้วก็รอให้ฝุ่นซาลงไปเอง แต่แท้จริงแล้วปัญหายังคงอยู่ และคนที่รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ “เด็ก” แถมยังเป็นผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาวอีกด้วย

 

ฝุ่นพิษส่งผลอย่างไรบ้าง

 

- หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับสุขภาพต่างออกมาให้ข้อมูลว่า เมื่อฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปถึงหลอดลมฝอย และลงไปถึงปลายสุดของปอด ก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดการอับเสบทั้งเรื้อรังและเฉียบพลัน

 

- เกิดโรคถุงลมโป่งพอง (เหมือนคนสูบบุหรี่) ต่อด้วยมะเร็งปอด เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีพัฒนการอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น ปอด และสมอง แม่ท้องเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เมื่อคลอดมาแล้วก็มีเพิ่มอัตราการเกิดหอบหืด และมะเร็งในเด็ก 

 

- ขัดขวางการเจริญเติบโตของปอดเด็ก เด็กตั้งแต่แรกเกิด-20 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของปอด (สูงสุดเมื่อายุ 20 ปี) จะมีการพัฒนาไม่เต็มที่ คือ ไม่เต็มสมรรถภาพ และเมื่ออายุ 40-50 ปี สมรรถภาพก็ลดลงอย่างรวดเร็ว มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

 

- เด็กทั่วโลกมีกว่า 6 แสนคนที่เสียชีวิตเพราะการสูดดมมลพิษ เด็กยิ่งอายุน้อยยิ่งความเสี่ยงสูง เพราะเด็กหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ตัวไม่สูงเหมือนผู้ใหญ่ มีโอกาสได้รับฝุ่นที่สะสมอยู่มากขึ้น รวมถึงระบบด้านทานสิ่งแปลกปลอมก็ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

 

- เด็กที่อาศัยที่พื้นที่ฝุ่นมาก จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 20 เดือน

 

- เด็กช่วงวัยรุ่นมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าก่อนอายุ 18 ปี ถึง 20% 

 

เพราะฝุ่นพิษมีขนาดเล็กกว่าเส้นขนของคนเราถึง 20 เท่า สามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางจมูกและปาก เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถเข้าไปถึงอวัยวะทุกส่วน จึงเกิดผลกระทบทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการแบบจริงจัง ต่อเนื่อง และเด็ดขาด ยกตัวอย่างที่ประเทศจีน โดยเฉพาะที่ปักกิ่งมีปัญหาฝุ่นเยอะมาก ๆ ส่งผลต่อสุขภาพประชาชน ในปี 2017 มีการจัดการเรื่องนี้แบบจริงจัง ทุ่มงบประมาณจำนวนมากจัดการทั้งระบบ เช่น กำจัดรถกว่า 3 แสนคันที่ปล่อยควันเสีย เปลี่ยนให้ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จัดการโรงงานเก่าทั้งหมด ยกเลิกการเผาถ่านหิน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทั้งหมด และฝุ่นก็ลดลงได้

 

จากสิ่งที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ฝุ่นเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก บ้านเรายังไม่มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง ดังนั้นเราก็ต้องจัดการภายในบ้านเรา ปลูกต้นไม้เยอะขึ้น ดูแลเรื่องการใช้รถ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดฝุ่นขึ้นมาได้ ในเบื้องต้นก็ต้องดูแลตัวเองและลูกของเรากันก่อนเพื่อสุขภาพของเรากันนั่นเองค่ะ

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER