เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.42 รู้จัก รู้ใจ ลูกวัย 15-17 ปี

24 ธันวาคม 2020 169 ครั้ง

เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.42 รู้จัก รู้ใจ ลูกวัย 15-17 ปี

วัย 15-17 ปีนี้ ต้องเรียกว่า วัยรุ่นตอนกลาง อารมณ์ที่เคยพุ่งปรี๊ดเมื่อตอนวัยรุ่นตอนต้นก็จะเย็นลงมาหน่อย พ่อแม่จะช่วยลูกจัดการเรื่องอารมณ์ และดูแลในเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง ติดตามใน เรื่องลับเจ้าตัวเล็ก EP.42 รู้จัก รู้ใจลูกวัย 15-17 ปี

 

ช่วยลูกจัดการเรื่องอารมณ์

 

เรื่องของอารมณ์ จะพบว่า บางครั้งวัยรุ่นจะมาบอกว่าเขาเป็นซึมเศร้า นั่นเป็นเพราะว่า อารมณ์เขาดิ่งจริง ๆ ถ้าลูกมาบอกว่า ตัวเองเศร้า อยากไปหาหมอ พ่อแม่บางคนอาจตกใจ และอาจคิดว่าลูกตัวเองไม่เป็น ซึ่งอารมณ์ซึมเศร้ากับภาวะซึมเศร้านั้นไม่เหมือนกัน ถ้าพาไปหาคุณหมอหรือนักจิตวิทยาจะสามารถแยกออกและช่วยได้

 

ถ้าอารมณ์ดิ่งจนไม่อยากทำอะไร ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ได้ หรือทำให้สูญเสียการทำอะไรต่าง ๆ ตามปกติ แบบนี้ต้องพบแพทย์เลย แต่ถ้ารู้สึกเศร้า อยากร้องไห้ ถ้าพ่อแม่ฟังเป็น ยอมให้ลูกบอกความเศร้าของตัวเองออกมา ก็จะทำให้ลูกบรรเทาความเศร้านั้นได้ แต่ถ้าเกินกว่าที่พ่อแม่จะจัดการก็สามารถหานักจิตวิทยาได้

 

บางครั้งพ่อแม่ชอบพูดว่า “อย่าคิดมากนะ” “คิดไปเองหรือเปล่า” ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริง แต่เด็กที่เกิดอารมณ์เศร้าไม่ได้เกิดจากสมองส่วนคิด แต่เกิดจากสมองส่วนความรู้สึก มันห้ามไม่ได้ ต้องยอมรับว่า ความเศร้าที่เกิดเป็นเรื่องจริง ก็จะช่วยเขาได้

 

 

วัยแห่งการพัฒนาศักยภาพ

 

 -  วัยนี้เป็นช่วงของการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นช่วงพัฒนาเรื่องความคิด และความเป็นตัวตน เป็นช่วงเวลาที่ตัวเองพัฒนาความไม่เหมือนกับคนอื่น และเข้าสู่วัยที่เตรียมที่จะไม่พึ่งพาคนอื่น

 

-  ในเรื่องความสัมพันธ์เรื่องเพศ ที่ผ่านมาอาจจะแค่รู้สึกหวือหวา แต่วัยนี้จะเริ่มรู้สึกถึงความเป็นคนรัก มีโอกาสเข้าสู่การมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น

 

-  ในเรื่องความขัดแย้งจะน้อยลง เพราะอารมณ์ไม่เหวี่ยงมาก เด็กสงบลง ดูแลตัวเองได้ ก็เริ่มที่จะเข้าใจ และมองคนอื่น เห็นอกเห็นใจได้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มาก

 

-  เริ่มมีแผนอนาคต เพราะสมองส่วนหน้าเริ่มเติบโตตาม สมองก็ยังมีการเชื่อมใยประสาทได้ดี ฉะนั้น ถ้ายังต้องการฝึกทักษะทางด้านไหน ก็ยังเป็นโอกาสทองอยู่ เช่น การเรียนภาษา เรียนดนตรี ก็ยังทำได้ดีกว่าวัยผู้ใหญ่

 

 

หน้าที่ของพ่อแม่

 

ถ้าพ่อแม่ฟังเป็น เปิดโอกาสให้เขาได้ดูแลตัวเอง ได้ตัดสินใจในส่วนที่เป็นชีวิตของเขา พ่อแม่ถอยออกมาเป็นผู้สนับสนุน ไม่ใช่ผู้แสดงแล้ว เด็กจะมีโอกาสพัฒนาได้อย่างเต็มที่

 

แต่ก็ยังคงเป็นวัยรุ่นอยู่ ยังคงทำอะไรโดยไม่ไตร่ตรองให้ดี ทำแบบด่วน ๆ ก็อาจเกิดผลเสียหายได้หลายอย่าง อย่างที่อันตราย เช่น โซเชียลมีเดีย การตอบที่ไม่ได้ไตร่ตรอง หรือถูกเพื่อนยุยงให้ถ่ายคลิป หรือทำอะไรที่อาจเป็นทางลบ ซึ่งตรงนี้ถ้าเด็กได้เคยเรียนรู้เรื่องอารมณ์ รับรู้อารมณ์ได้เร็ว จะช่วยได้เยอะ แต่ถ้าไม่เคยได้ฝึกก็ต้องฝึกกัน เวลาที่เขารู้สึกอะไรขึ้นมา ก็ลองบอกให้เขาทบทวนว่าเขารู้สึกอะไร

 

วัยรุ่นไม่ชอบให้มายุ่งเรื่องส่วนตัว ลูกต้องการการดูแลแบบผู้ใหญ่ ใช้วิธีวางใจในตัวลูก เชื่อมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ พ่อแม่ต้องทำตัวเองให้เป็นเซฟโซน (safe zone) สำหรับลูกเมื่อเขาเกิดปัญหา หากทำแบบนี้เรื่องต่าง ๆ จะรอดไปได้

 

เราต้องรู้ว่ามีหลายเรื่องที่วัยรุ่นจัดการเองได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่จัดการเองไม่ได้ ถ้าเขาไปปรึกษาผู้ใหญ่ เช่น การตั้งครรภ์ สำหรับเรื่องที่ยากจริง ๆ แต่เรามีช่องทางให้ลูกหาทางออกที่ปลอดภัยพอ พ่อแม่จะวางใจได้ แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นเซฟโซนสำหรับเด็ก เป็นเพราะพ่อแม่มีความกังวลไปก่อนโดยไม่รู้ตัว จะทำให้ลูกรับรู้ว่าพ่อแม่กังวล

 

เรื่องยาเสพติด เรื่องนี้อาจคุยกับลูกก่อน แต่ก็ต้องคุยกันว่า แม่อยากรู้แม้ว่าลูกจะใช้ยาเสพติดไปแล้ว เราสามารถบอกลูกได้เลยว่าแม่พร้อมจะฟัง แล้วจะก้าวผ่านไปด้วยกัน ท่าทีของพ่อแม่สำคัญมากที่จะบอกลูกว่า ลูกสามารถพูดเรื่องไหนได้บ้าง

 

แต่วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องลอง ไม่งั้นก็จะไม่รู้เลย ทุกอย่างแก้ได้ด้วยความสัมพันธ์ในครอบครัว และการพูดคุยกับลูก ท่าทีของพ่อแม่สำคัญมาก พูดด้วยคำพูดที่ตรงไปตรงมา แต่ไม่ได้เป็นการต่อว่า พ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะพูดให้เป็น พร้อมที่จะรับฟังในทุกเรื่อง

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ และ นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

OTHER