เอา GEN เขามาใส่ใจเรา EP.06 ชวนพ่อแม่ exercise สมอง ก่อนความจำเสื่อม

19 เมษายน 2021 40 ครั้ง

เอา GEN เขามาใส่ใจเรา EP.06 ชวนพ่อแม่ exercise สมอง ก่อนความจำเสื่อม

การออกกำลังกายสมองสำคัญกับผู้สูงวัยอย่างไร ทำไมต้องออกด้วย และทำอย่างไรถึงจะออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยได้ หาคำตอบใน เอา GEN เขามาใส่ใจเรา EP.06 ชวนพ่อแม่ exercise สมอง ก่อนความจำเสื่อม

 

เมื่อครั้งที่แล้วเราคุยกันในเรื่องราวของการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อาจารย์แววตาก็แนะนำว่า ให้ลองทดสอบความพร้อมท่านก่อน ให้ท่านลองยืนกระต่ายขาเดียวเพื่อดูความสมดุลของร่างกายก่อนไปออกกำลังกาย โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1  ยืนตัวตรง แยกขาเล็กน้อย หลับตา นับ 1-10 ช้า ๆ สังเกตความสมดุลของร่างกาย ไม่งง ไม่เอียง แล้วค่อย ๆ เพิ่มการนับไปถึง 20

 

ขั้นตอนที่ 2  ค่อย ๆ เพิ่มการสร้างความสมดุลให้ร่างกายโดยการยืนยกขา 1 ข้าง นับ 1- 20 โดยที่อีกมือหนึ่งสามารถเกาะขอบเก้าอี้ไว้ได้ ยังไม่ต้องหลับตา ค่อย ๆ ทำจนชำนาญ

 

ขั้นตอนที่ 3   ให้ยืนกระต่ายขาเดียว หลับตา นับ 1–20 ช้า ๆ โดยที่ไม่เกาะขอบโต๊ะ

 

นี่ก็จะเป็นบททดสอบเริ่มแรกในการพาพ่อแม่ไปออกกำลังกาย เพื่อดูความสมดุลของร่างกายและสมอง ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น ลูก ๆ ก็ สามารถเอาไปทดลองทำได้เพื่อเช็กความสมบูรณ์ของร่างกายรวมไปถึงการทำงานของสมอง

 

 

เมื่อพาพ่อแม่ไปออกกำลังกาย

 

สำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายควรออกแบบคาร์ดิโอ เอ็กซ์เซอร์ไซด์ จะเป็นการเดินหรือการวิ่ง โดยจะเดินหรือจะวิ่งอยู่กับที่ก็ได้  ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้จะช่วยเรื่องการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ปอดรวมไปถึงหัวใจแข็งแรงและทำงานได้ดี

 

 

การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอสำหรับผู้สูงอายุ

 

แบบที่ 1  นั่งบนเก้าอี้ แกว่งแขนขึ้นและลง

 

แบบที่ 2  เดินอยู่กับที่ โดยให้นั่งอยู่กับที่แล้วยกขาซ้าย ขาขวาสลับกันไป

 

แบบที่ 3  กระโดดตบสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ คือ ยืนขึ้น กางขา ยกมือซ้ายข้ามหัว ยกขาซ้าย แต่ตัวเอียงไปทางขวา ทำสลับกัน ประมาณ 20ครั้ง 

 

 

การออกกำลังกายสมอง

 

เมื่อออกกำลังสำหรับร่างกายแล้ว การออกกำลังกายสมองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อม หรือจำลูกหลานไม่ได้ในอนาคต ซึ่งมีเกมง่าย ๆ ช่วยในการฝึกสมองหรือออกกำลังกายสมองสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การเล่นบอร์ดเกม หรือ เกมที่เป็นกระดาษ เช่น เกมเศรษฐี เหมาะสำหรับทุกวัยในครอบครัว สนุกเล่นง่าย

 

อีกเกมที่น่าสนใจ คือ การเล่นเกมจับผิดรูปภาพ  หรือการเล่นหมากฮอส

 

อีกเกมที่อาจารย์แววตาแนะนำ คือ เกมจีบแอล บริหารสมองเป็นสองเท่า โดยมีวิธีเล่นง่าย ๆ คือ กำมือทั้งสองข้างให้เหลือนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายตัวแอล เมื่อมือซ้ายจีบลง มือขวายังคงเป็นตัวแอล เมื่อมือขวาจีบลง มือซ้ายจะเป็นตัวแอล ทำสลับกันประมาณ 200 ครั้ง หรือทำบ่อย ๆ เท่าที่ทำได้

 

การออกกำลังกายแบบทดสอบสมองอีกเกมที่น่าสนใจ คือ เกมเขียนสี

 

อุปกรณ์ ปากกาเมจิกหลายสี และกระดาษ

 

วิธีการเล่น

 

ใช้ปากกาเมจิกสีแดงเขียนลงไปบนกระดาษ เป็นคำว่า สีน้ำเงิน แล้วให้พ่อแม่ตอบว่า ปากกาที่เขียนสีอะไร ซึ่งคำตอบข้อนี้คือ สีแดง (เพราะเราใช้ปากกาสีแดงเขียน)

 

และ เกมนับถอยหลัง คือ นับเลขถอยหลัง จาก 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 เป็นเกมง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน มีประโยชน์ต่อสมอง ไม่แพ้เกมไหน ๆ เลย

 

 

อย่าลืมนะครับ ออกกำลังกายร่างกายแล้ว อย่าลืมออกกำลังกายสมองด้วย

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  สันติภาพ นครจันทร์ และ อาจารย์แววตา เอกชาวนา

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ถอดเทปเสียง: สันติภาพ นครจันทร์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

 

 

OTHER